ALT ปลื้มยอดใช้โครงข่ายข้ามแดน”เมียนมาร์​-กันพูชา”พุ่ง เร่งเจรจายักษ์ใหญ่ต่างชาติลงทุนไทยรับนโยบาย Digital Hub

เอแอลที เทเลคอม ปลื้ม “IGC ยอดใช้บริการโครงข่ายข้ามแดนช่วง ปีเติบโตก้าวกระโดดทั้งเมียนมาร์- กัมพูชา-เวียดนาม เหตุ IGC มีความพร้อมด้านโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง ขณะที่ให้บริการที่ตอบโจทย์ลูกค้า รวมทั้งประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สอดรับนโยบายรัฐดันไทยเป็น Digital Hub ในเซาทอีสทเอเชีย (Southeast Asia) มั่นใจศักยภาพยังเติบโตได้อีกมาก หลายบริษัทที่ให้บริการข้อมูลยักษ์ใหญ่ต่างชาติสนใจเป็นพันธมิตรจ่อเข้าลงทุนในไทยอีกเพียบ

ายพิชิต สถาปัตยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด (IGC ) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทเอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ALT เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า บริษัท IGC แม้ว่าจะเป็นน้องใหม่ที่เปิดให้บริการได้เพียง ปี แต่ผลการดำเนินงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด​ โดยเฉพาะการให้บริการเชื่อมต่อโครงข่ายกับประเทศเมียนมาร์และกัมพูชา

โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ IGC มีการเติบโตอย่างมาก เป็นเพราะบริษัทได้เปิดให้บริการในจังหวะเวลาที่ผู้ใช้บริการต้องการคุณภาพของบริการที่ดีขึ้น มีตัวเลือกที่มากขึ้น ประกอบกับเมื่อ ปีที่ผ่านมาประเทศเมียนมาร์เกิดปัญหาภายใน ทำให้มีปริมาณความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในขณะที่ IGC มีความพร้อมในการให้บริการ โดยเฉพาะมีเครือข่ายหลักที่อยู่บนเส้นทางรถไฟทั่วประเทศ และมีเส้นทางสำรองบนถนน ทำให้โครงข่ายมีความเสถียรสูง รวมทั้งมีการเชื่อมต่อข้ามพรมแดนและศูนย์ข้อมูลหลายจุด

“แม้เราเพิ่งเปิดดำเนินการมาแค่ 4 ปี แต่ด้วยความพร้อมดังกล่าว ทำให้เกิดความแตกต่างในการให้บริการได้รวดเร็วกว่าความคาดหวังของลูกค้า ในคุณภาพที่เทียบเท่าหรือดีกว่า เราพร้อมที่จะเข้าไปคุยกับลูกค้าทุกราย ทำให้เราเติบโตในช่วง 2 ปีแรกที่เริ่มให้บริการได้เร็วมากๆ เติบโตจากศูนย์ มาเป็น Multiple 100 Gbps ภายใน 3 ปี เราได้ธุรกิจจากเมียนมาร์เป็นสัดส่วนสูงสุด เราเป็นรายเล็กที่เติบโตสวนกระแส โตถึงขีดสุดจนถึงขนาดอุปกรณ์ไม่เพียงพอติดตั้งให้ลูกค้า นายพิชิตกล่าว

ส่วนผลการดำเนินงานในปีนี้ของ IGC ก็ยังเป็นอีกปีที่มีแนวโน้มจะเติบโตสวนกระแสโดยเฉพาะปริมาณแบนด์วิทด์ที่ต่อเชื่อมกับประเทศกัมพูชา ที่ล่าสุดเติบโตแซงประเทศเมียนมาร์ไปแล้ว โดยสาเหตุที่กัมพูชามีการเติบโตมาก เนื่องจากกัมพูชามีชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศเวียดนาม เมื่อเวียดนามมีปัญหาไม่สามารถส่งข้อมูลในประเทศ หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับต่างประเทศได้ เพราะสายเคเบิลใต้น้ำเกิดปัญหา ทำให้ต้องส่งข้อมูลมาทางภาคพื้นดินแทน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของ IGC ที่มีความพร้อมให้บริการเชื่อมต่อตามชายแดนอยู่แล้ว จึงสามารถรับแบนด์วิทด์จากเวียดนามมาประเทศไทย ไปสิงคโปร์ เป็นเส้นทางใหม่ที่สร้างโอกาสในการใช้โครงข่ายชายแดนไทย-กัมพูชามีปริมาณแบนด์วิทด์มากกว่าเมียนมาร์แล้ว ณ วันนี้

ทั้งนี้บริษัทIGC ได้สิทธิเชื่อมต่อโครงข่ายจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช มาทั้งหมด 15 borders แต่ปัจจุบันใช้ไปเพียง 12 borders ดังนั้นโครงข่ายของIGC ที่วางไว้มั่นใจว่าสามารถตอบโจทย์การทำธุรกิจให้ลูกค้าจริง โดยเชื่อมจากชายแดนหนึ่งไปอีกชายแดนหนึ่งเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นจุดขายของIGC 

“เรามีความแตกต่างและเติบโตที่ก้าวกระโดดแม้จะเป็นผู้เล่นรายเล็กที่เพิ่งเกิดใหม่ เชื่อว่าเป็นเพราะเรามีทีมงานที่แข็งแกร่ง สามารถให้บริการลูกค้าแต่ละรายได้ในเวลารวดเร็วจากที่ต้องใช้เวลาเป็นเดือนในการเชื่อมต่อโครงข่าย สิ่งนี้คือสิ่งที่เราแตกต่างและทำให้เราเติบโตอย่างมาก” นายพิชิตกล่าว

นายพิชิตกล่าวว่า ประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ต (Digital Hub) ทำให้ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ให้ความสนใจมาใช้ไทยเป็นจุดแลกเปลี่ยน ซึ่ง IGC มีความได้เปรียบด้านการแข่งขันเนื่องจากกลุ่ม ALT ได้ลงทุนสร้างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงไว้หลากหลายเส้นทางและมีความปลอดภัยสูง มีจุดเชื่อมต่อจำนวนมาก จึงสามารถออกแบบโครงข่ายได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและสามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็ว

Digital Hub ของ เซาทอีสทเอเชีย (Southeast Asia)ถือเป็น Road Map หลักที่รัฐบาลไทย กำหนดไว้ ซึ่งในภาครัฐได้ลงทุนพัฒนาพื้นที่ที่เรียกว่า EEC โดยมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย เราก็พยายามเอาสิทธิประโยชน์ต่างๆ ใน EEC ไปเป็นฐานและเป็นข้อมูลหลัก ในการไปเจรจากับนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ของโลก ว่าประเทศไทยเปิดแล้วและรัฐมีนโยบายผลักดันเรื่อง Digital Hub ผมมองว่า ภายใน ปีนี้ถือเป็นปีทองที่รัฐต้องเร่งผลักดันให้เกิดขึ้น เพราะหาก Digital Hub เกิดขึ้น ทั้งปริมาณข้อมูล ทั้งปริมาณอุปกรณ์ไอที ทั้งจำนวนดาต้าเซ็นเตอร์ จะมาลงทุนอีกมาก เพราะทั้งอินเทอร์เน็ต ทั้งอีคอมเมิร์ซที่เติบโต จำเป็นต้องมีศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย ขณะที่ IGC เองได้ลงทุนสถานีเคเบิลใต้น้ำ เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนในการนำสายเคเบิลใต้น้ำมาขึ้นที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นทางเลือกที่นักลงทุนสามารถมาหาเรา มาเป็นพันธมิตรกับเราได้ง่ายขึ้น ภายในเวลาที่รวดเร็ว