สนง. ป.ย.ป. จัดประชุมให้คำปรึกษาแนะนำ รับฟังความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document จ.ปทุมธานี

สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน...) จัดการประชุมให้คำปรึกษาแนะนำ รับฟังความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ให้แก่หน่วยงานราชการของจังหวัดปทุมธานี (การประชุมฯศาลากลางจังหวัดปทุมธานี โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์  วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document แก่หน่วยงานราชการ (คณะทำงานฯพร้อมด้วยคณะทำงานฯ ที่เป็นหน่วยงาน e-Service Catalog ได้แก่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทคและบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เข้าร่วมให้คำปรึกษาแนะนำ โดยคณะทำงานฯ ได้รับการต้อนรับจาก นายณรงค์ศักดิ์  โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นางสาวพัชราภรณ์  สิริวรเวชยางกูล สำนักงานสถิติจังหวัดปทุมธานี และผู้บริหารจาก เทศบาลเมืองท่าโขลง เทศบาลเมืองลาดสวาย เทศบาลเมืองลำสามแก้ว เทศบาลเมืองบางกะดี เทศบาลตำบลบางหลวง และเทศบาลตำบลสามโคก โดยสาระสำคัญของการประชุมสรุปได้ ดังนี้ 

นางสาวปภาภรณ์ ชุณหชัชราชัย ผู้อำนวยการกองนวัตกรรม สำนักงาน ..ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดการประชุมครั้งนี้ว่า สำนักงาน ..ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document แก่หน่วยงานราชการ และเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะทำงานฯ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ...) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เนคเทค และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นคณะทำงานฯ ได้มีการจัดทำแผนการขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ผ่าน e-Service Catalog (แผนการขับเคลื่อนฯโดยแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การขับเคลื่อนการใช้ระบบe-Document ผ่าน e-Service Catalog ให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งมีหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดจำนวนรวม 172 แห่ง และมีการใช้ระบบ e-Document แล้วจำนวน 116 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 81 



การขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ผ่าน e-Service Catalog ให้กับหน่วยงานภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานที่มีการใช้ระบบ e-Document แล้ว คิดเป็นร้อยละ 80 ส่วนที่ 3 การขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ผ่าน e-Service Catalog ให้กับหน่วยงานระดับกระทรวง/กรม ซึ่งสำนักงาน ..อยู่ระหว่างการดำเนินการขับเคลื่อนให้กับหน่วยงานที่แจ้งความประสงค์ว่าจะให้มีการใช้ระบบ e-Document ภายในหน่วยงาน และส่วนที่ 4 การขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ผ่าน e-Service Catalog ให้กับหน่วยงานราชการระดับท้องถิ่น โดยสำนักงาน ..ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในการสำรวจหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสงค์ขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document พบว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 59 จังหวัด ที่ประสงค์ขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ซึ่งรวมถึงเทศบาลเมืองท่าโขลง เทศบาลเมืองลาดสวาย เทศบาลเมืองลำสามแก้ว เทศบาลเมืองบางกะดี เทศบาลตำบลบางหลวง และเทศบาลตำบลสามโคก จังหวัดปทุมธานี ดังนั้น วัตถุประสงค์ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนฯ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจังหวัดปทุมธานีจะเป็นจังหวัดนำร่องที่ 4 ของการดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนฯ โดยสำนักงาน ..จะรับฟังข้อคิดเห็น รับทราบแนวทาง และดูความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยครั้งนี้มีหน่วยงาน e-Service Catalog จำนวย 2 หน่วยงาน คือ เนคเทค และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะมาร่วมนำเสนอการใช้ระบบ e-Document ให้ทุกท่านได้เข้าใจ ทั้งนี้ สำนักงาน ..พร้อมสนับสนุน และช่วยเหลือ เพื่อสามารถขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ผ่าน e-Service Catalog ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี



นายณรงค์ศักดิ์  โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้กล่าวต้อนรับคณะทำงานฯ และผู้เข้าร่วมการประชุมฯ โดยรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่คณะทำงานฯ พิจารณาเลือกจังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่นำร่องในการขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของเทศบาลเมืองท่าโขลง เทศบาลเมือง ลาดสวาย เทศบาลเมืองลำสามแก้ว เทศบาลเมืองบางกะดี เทศบาลตำบลบางหลวง และเทศบาลตำบลสามโคก จังหวัดปทุมธานี ที่ได้เข้ามาฟังการนำเสนอการใช้ระบบ e-Document และจะได้ทดลองใช้งานระบบ e-Document ของ e-Service Catalog เพื่อนำไปสู่การเป็นจังหวัดนำร่องที่ 4 ตามแผนการขับเคลื่อนฯ ต่อไป

ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์  วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และประธานคณะทำงานฯ ได้กล่าวเปิดการประชุม และกล่าวถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนการใช้ระบบ  e-Document แก่หน่วยงานราชการว่า การขับเคลื่อนให้หน่วยงานราชการมีการใช้ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) ซึ่งเป็นการยืนยันตัวตนในการเข้าใช้งานในระบบ การสร้างเอกสารราชการแบบดิจิทัล(Digital Document) ผ่านแบบฟอร์มมาตรฐานในระบบดิจิทัล (Digital Form) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างหนังสือราชการ การแนบไฟล์เอกสารประกอบประเภทต่าง  การเห็นชอบการอนุมัติ อนุญาตตลอดจนการสั่งราชการในรูปแบบต่าง  โดยมีการลงนามผ่านระบบการเข้ารหัส และลงลายมือชื่อดิจิทัล(Digital Signature) 
อันเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อต่อยอดไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลต่อไป รวมถึงเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านของหน่วยงานราชการ มาสู่การใช้ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวถึงระบบe-Document ของทางเนคเทค มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการใช้ระบบ Paperless ในหน่วยงานราซการต่าง  ทำให้เกิดการใช้งานเอกสารในระบบรูปแบบดิจิทัล เกิดการทำงานแบบ Paperless ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และนำมาสู่การต่อยอดการพัฒนาระบบ e-Document ระบบสารบรรณดิจิทัล(dSaraban) ซึ่งเป็นการให้บริการแบบ Software as a Service (SaaS) บน Cloud Service ที่มีระบบความมั่นคง ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล

นายภูริต มิตรสมหวัง ผู้จัดการฝ่ายบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 
ได้กล่าวถึงการนำระบบ Prompt Post ที่สามารถรับ ส่ง และบริหารจัดการเอกสารสำคัญในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ และพร้อมจะร่วมขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับสำนักงาน ..ต่อไปด้วย

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหนึ่งในแผนการขับเคลื่อนฯ ของสำนักงาน ..เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และยกระดับการทำงานของหน่วยงานราชการให้ทันสมัย ตอบโจทย์การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยสอดคล้องตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ .. 2565