GMM MUSIC แกร่ง โตฝ่าวิกฤตโควิด ทำกำไรทะลุ 350 ล้านบาท

GMM MUSIC แกร่ง โตฝ่าวิกฤตโควิด  ทำกำไรทะลุ 350 ล้าน ตั้งเป้าปี 66 รายได้เติบโต 25% 

นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชนเผยว่า แม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 มาอย่างยาวนาน และยังเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากที่ต้องหยุดจัดงานคอนเสิร์ตต่าง   แต่ GMM MUSIC ก็โชว์ศักยภาพ สร้างการเติบโตแบบสวนกระแส เป็นผลมาจาก 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ที่ถือได้ว่าเป็นธุรกิจสำคัญของแหล่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งชี้ถึงโอกาสของการเจริญเติบโตในระยะยาว ประกอบด้วย ธุรกิจ Digital Business ในปี 2565 มียอดรายรับที่ 1,089 ล้านบาท และธุรกิจ Right Management Business ในปี 2565 มียอดรายรับที่ 236 ล้านบาท 

เมื่อได้รับโอกาสสืบเนื่องจากการที่ภาครัฐมีการผ่อนปรนมาตรการต่าง  ตลอดจนการเปิดประเทศ ส่งผลดีต่อธุรกิจหลักให้ฟื้นตัว สามารถกลับมาจัดกิจกรรมต่าง  ทางการตลาดได้เพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าธุรกิจShowbiz และธุรกิจ Live Show สามารถกอบกู้สถานการณ์ของบริษัทฯในเชิงบวกให้ดีขึ้น แม้มีระยะเวลาการจัดงานเพียง 7 เดือน ธุรกิจ Showbiz สร้างยอดรายรับที่ 542 ล้านบาท และธุรกิจ Live Show สร้างยอดรายรับที่ 410 ล้านบาท

นอกจากผลงานด้านธุรกิจของ GMM MUSIC ที่เติบโตสร้างผลกำไรให้อย่างเป็นรูปธรรม ยังมีอีกหนึ่งส่วนที่เติบโตอย่างเห็นชัดเจนก็คือ กลุ่มมิวสิคคอนเทนต์ (การผลิตเพลงและศิลปินที่สร้างการเติบโตผ่านความร่วมมือกับทุกแพลตฟอร์มดิจิทัลที่คนไทยนิยมใช้ฟังเพลง สามารถนำคอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นให้เกิดความประทับใจ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงและตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด จึงทำให้ในปี2565 ที่ผ่านมา GMM MUSIC มียอดการสตรีม ทั้งหมด 14,000 ล้านการสตรีม เกิดจากการสร้างเพลงใหม่จำนวนทั้งสิ้น 404 เพลง โดยแบ่งออกเป็น 30 อัลบั้ม, 153 ซิงเกิล, 44 เพลงประกอบภาพยนตร์ และ48 เพลงคัฟเวอร์ อีกทั้งถูกนำไปสร้างและแชร์เป็นเพลย์ลิสต์จำนวน 3,817 เพลย์ลิสต์ ซึ่งเพลงใหม่ทั้งหมดนั้นสร้างการสตรีมจำนวน 2,150 ล้านการสตรีม คิดเป็น 16% ของการฟังเพลง GMM MUSIC ทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยการสตรีมเพลงใหม่ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลก โดยมียอดการสตรีมอยู่ที่ประมาณ 15% หากแยกประเภทของแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในการฟังของ GMM MUSIC 3 อันดับแรก คือ เพลงร็อก 40% เพลงลูกทุ่ง 32% และเพลงป๊อป 14%

นอกจากนี้ในปี 2565 เพลงและศิลปินของ GMM MUSIC ยังคงครองใจแฟน  ได้อย่างเหนียวแน่นทำให้มีเพลงยอดนิยมเข้าไปติดอันดับชาร์ตเพลงของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง  และยังเป็นปีของการแจ้งเกิดศิลปินใหม่ ครบทุกแนวเพลง ทั้งป๊อป ร็อก และลูกทุ่งอีกด้วย ทั้งนี้ภาพรวมความสำเร็จทางด้านการผลิตสามารถสรุปได้โดยย่อในหลากหลายมิติ 

วันนี้ GMM MUSIC ได้เปิดทิศทางการดำเนินธุรกิจ ปี 2566 ตั้งเป้ารายได้โต 25% เน้นการเติบโตทุกส่วนธุรกิจ เสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเดิม และสร้างโอกาสขยายตัวธุรกิจใหม่ เพื่อตอกย้ำการเป็นMUSIC INFRASTRUCTURE อันดับ 1 พร้อมเน้น 5 Core Focus เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญพร้อมนำพาทุกธุรกิจของ GMM MUSIC พุ่งทะยานไปสู่เป้าหมายการสร้างรายได้ 3,800 ล้านบาทในปี 2566 นี้อย่างที่ตั้งไว้ 

5 Core Focus ของ GMM MUSIC ได้แก่ 1.Entertainment Data Intelligence คือการลงทุนแพลตฟอร์มด้าน Big Data เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ GMM MUSIC ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายShowbiz หรือ ฝ่ายอื่น  ที่เกี่ยวข้อง 2.No.1 Music Performance in Thai Marketสร้างสรรค์และจัดวางแบรนด์ศิลปินให้ครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์ 3.Rebuild The New Generationวางเป้าหมายในการสร้างศิลปินใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งศิลปินร็อก 4.Digital Crossover สร้างรายได้ให้เติบโตสูงสุดในกลุ่ม Digital Music ด้วยความเชี่ยวชาญด้าน Digital Performance 5. No.1 Showbiz in Thailand ขยายเข้าสู่โอกาสใหม่ ในการสอดแทรกเข้าสู่งานเทศกาลประจำจังหวัด งานฮาโลวีน งาน LGBTQ+ งานเทศกาลดนตรีระดับสากล คอนเสิร์ต และงานแฟนมีตติ้ง

GMM MUSIC มีความเชื่อมั่นว่าการเติบโตที่ยั่งยืนคือหัวใจที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจในตอนนี้GMM MUSIC ให้ความสำคัญในคุณค่าของศิลปิน ทีมงาน ทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลัง และพนักงานทุกคน ที่จะอยู่ในวิชาชีพที่มีแรงบันดาลใจและต้องการความมั่นคงในธุรกิจ บวกกับความพร้อมที่จะร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสื่อต่าง  ค่ายนอกโปรโมเตอร์แพลตฟอร์มคู่ค้าทางธุรกิจ หรือแบรนด์สินค้าต่าง  เพื่อที่จะมุ่งมั่นทำให้อุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตได้อย่างแข็งแรง ต่อเนื่อง ¬และยั่งยืน



#GMM #GMMMusic #StockReview