บำรุงราษฎร์ เสริมแกร่ง ICU ชูศักยภาพทีมแพทย์ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าโรคทางระบบประสาทมีหลายร้อยประเภท ซึ่งหนึ่งในโรคที่พบบ่อยคือ โรค หลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเสียชีวิต และอันดับ 3 ของความพิการ โดยผลสำรวจในปี 2562 ทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 101 ล้านคน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 12.2 ล้านคน และเสียชีวิต 6.5 ล้าน คน ขณะที่ประเทศไทยในปี 2563 มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ที่ 53 คนต่อประชากรแสนคน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า “เนื่องจากระบบประสาทเป็นระบบที่ซับซ้อน มีหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การ เคลื่อนไหว ความคิด ความรู้สึก การพูด การหายใจ ซึ่งเชื่อมกับสมองและไขสันหลัง ดังนั้น ความผิดปกติของระบบประสาทรวมถึงข้อบกพร่องของโครงสร้าง ถือเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต ควรได้รับการรักษาอย่างตรงจุดโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง"

ในฐานะที่บำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ให้การบริการในขั้นจตุตถภูมิ ก่อตั้งแผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง” มีความสำคัญมากในการเสริมศักยภาพ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยวิกฤตมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการและการเสียชีวิตนับเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในด้านความเป็นเลิศทางการแพทย์ ภายใต้คุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผู้ป่วย

นพ. ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ แพทย์หัวหน้าศูนย์โรคระบบประสาทและแพทย์ชำนาญการเฉพาะทางด้าน ประสาทวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า “แผนก NCCU ของบำรุงราษฎร์ มีความพร้อมใน 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.ทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์และความชำนาญขั้นสูงในการดูแลรักษาอย่างถูกต้องแม่นยำ 2.การทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีระบบไร้รอยต่อ 3. เทคโนโลยี และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย และ 4. ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในทุกภาวะวิกฤตตลอด 24 ชั่วโมง เพราะทุก 1 นาทีที่เซลล์สมองขาดเลือด ซึ่งหมายถึง “นาทีชีวิต” เซลล์สมองจะตายมากและนำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิต เราต้องมีความพร้อมในการรักษาครอบคลุมผู้ป่วยโรคและอุบัติเหตุทางสมองด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์ขั้นสูง”

โดยสามารถรักษาได้ทั้งโรคหลอดเลือดสมองตีบในระยะเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดโป่งพองในสมอง หรือ เป็นปานหลอดเลือดแดงต่อดำ ตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดภายหลัง โดยจะใช้เทคโนโลยีเครื่องสร้างภาพหลอดเลือดแบบ 2 ระนาบ ทำให้เห็นความชัดเจน ซึ่งข้อดีคือสามารถรักษาได้อย่างตรงจุดแม่นยำ ทั้งนี้แพทย์จะต้องตรวจวินิจฉัย ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อพิจารณาถึงตำแหน่ง ขนาดและรูปร่างของก้อนลิ่มเลือด/หลอดเลือดที่โป่งพองอายุ และสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

ที่สำคัญ หลังการรักษาผู้ป่วยวิกฤต แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง จะดูแลติดตามผลผู้ป่วยหลัง โดยห้องพักผู้ป่วยวิฤตระบบประสาท โดยเน้นสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจผู้ป่วยแต่ละรายที่เชื่อมโยงกับเครื่องศูนย์กลางเพื่อติดตามสัญญาณชีพ ทั้งนี้ แผนก NCCU ได้เข้ามาเติมเต็มให้ ICU มีความแข็งแกร่งส่งมอบคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย

.

#โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ##NCCU #โรงพยาบาลเอกชน #โรคระบบประสาท #ข่าว