ก.ล.ต. - คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จัดเวที CEO Dialogue โครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย (ระยะที่ 2)

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารระดับสูง (CEO Dialogue) ในโครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย (ระยะที่ 2) เพื่อให้ได้ทราบทิศทางแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจตามหลักสิทธิมนุษยชน สามารถนำมาปรับใช้ในการกำหนดนโยบายเป้าหมายและกลยุทธ์ และให้เกิดความมุ่งมั่นในเชิงนโยบาย รวมทั้งมีการจัดทำการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) 

การจัด CEO Dialogue ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก Ms. Christine Kaufmann ประธานคณะทำงานด้านการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) บรรยายในหัวข้อ “Responsible Business Conduct: Respecting Human Rights through Due Diligence and Way Forward” โดยนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ..กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงความเป็นมา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวณิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน โดยมีผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนเข้าร่วมงานประมาณ150 คน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565  โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ 

สำหรับในช่วงเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารระดับสูง (CEO Dialogue) มีนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชนและนางสาวยุวดี เอี่ยมสนธิทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีลิค คอร์พ จำกัด (มหาชนร่วมแบ่งปันมุมมอง ประสบการณ์และประโยชน์ที่ได้จากการบริหารธุรกิจตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มันตราภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวสรุปภาพรวม 

ทั้งนี้ โครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย (ระยะที่ 2) ซึ่ง ..ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยและจัดทำคู่มือแนวทาง ตลอดจนการจัดอบรมความรู้ด้านHRDD เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการฯ ระยะแรกที่ได้ริเริ่มในปี2565 ด้วย ..ในฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐที่ได้รับมอบหมายพันธกิจตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (.. 2562 - 2565) (แผน NAP) รวมถึงร่างแผน NAP ระยะที่ 2 (.. 2566 - 2570) ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมให้ภาคธุรกิจในตลาดทุนไทยดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และสามารถนำหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights) หรือเรียกว่า หลักการ UNGPs มาปรับใช้ตามบริบทของแต่ละธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ได้อย่างเป็นรูปธรรม 

การจัด CEO Dialogue เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ระยะที่ 2 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารในฐานะผู้นำองค์กรได้ทราบทิศทางและแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อนำมาปรับใช้ในการกำหนดนโยบายเป้าหมาย และกลยุทธ์ อีกทั้งเพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นในเชิงนโยบาย และมีการจัดทำ HRDD เพื่อช่วยในการบริหารจัดการความเสี่ยงลดผลกระทบเชิงลบและสร้างผลลัพธ์เชิงบวกที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ภาคธุรกิจในตลาดทุนร่วมเป็นกลไกหนึ่งเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายตามแผน NAP ร่วมกันต่อไป