หุ้นอีสานเขียวรักษ์โลก BRR และ UBE

ปัจจุบันทั่วโลกหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้จากบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในตอนนี้ จะเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสีเขียวหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการเกษตร

บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด หรือหุ้น BRR เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบ HOLDING โดยลงทุนในบริษัทย่อยได้แก่

    1. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย โดยมีบริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัดเป็นหลัก

    2. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าชีวมวล  โดยมีบริษัท บุรีรัมย์พลังงาน จำกัด และบริษัท บุรีรัมย์ เพาเวอร์ จำกัด และบริษัทย่อยอย่าง บุรีรัมย์ เพาเวอร์ พลัส จำกัด

    3. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้ชื่อบริษัท ปุ๋ยตรากุญแจ จำกัด

    4. ธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องใช้และอุปกรณ์จากชานอ้อยและเยื่อพืชธรรมชาติชนิดอื่น ๆ  โดย บริษัท ชูการ์เคน อีโคแวร์ จำกัด

    5. ธุรกิจบริหารจัดการโลจิสติกส์และบริการขนส่ง โดยบริษัท บีอาร์อาร์ โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด   


ในช่วงปีที่ผ่านมา ทั่วโลกเริ่มพูดถึงกระแสคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) กันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกที่ทำจากเยื่อชานอ้อยอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท ชูการ์เคน อีโคแวร์ จำกัด (SEW) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ BRR ถือหุ้นอยู่ 99.99% SEW ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ด้านอุปโภคและบริโภค อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ ที่ทำจากชานอ้อยร่วมกับเยื่อของพืชธรรมชาติอื่น เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก



คุณอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMART บริษัท JMART ได้พิจารณาลงทุนหุ้น BRR เพิ่มเติม โดยจะเข้ามาถือหุ้น 51 ล้านหุ้น หรือประมาณ 6.30% เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 250 ล้านบาท โดยเจมาร์ทให้ความสนใจในการลงทุนผลิตภัณฑ์ด้านชานอ้อย เพราะมองว่าธุรกิจทางด้านชานอ้อยมีความต้องการในตลาดสูงมาก แทบจะไม่เพียงพอต่อการส่งออก พร้อมทั้งการขยายธุรกิจในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วย


คุณอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้เปิดเผยว่า ในเรื่องราวของ ECO System ของบริษัทในตอนนี้ได้มีชาวไร่เข้ามาสนับสนุนธุรกิจมากกว่า 2 หมื่นครอบครัว มีพื้นที่เพาะปลูกมากถึง 2 แสนไร่ กำลังการผลิตอยุ่ที่ 2-3 หมื่นตัน/วัน ปริมาณอ้อยมีประมาณ 3 ล้านตัน/ปี แล้วก็มีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่จะนำมาต่อยอดธุรกิจ อย่างเช่น กากอ้อยและกากน้ำตาล ซึ่งทางบริษัทได้นำไปทำโรงไฟฟ้าชีวมวล ส่วนที่เหลือก็ทำธุรกิจปุ๋ยด้วย มีกำลังการผลิต 7 หมื่น – 1 แสนตัน/ปี


นอกจากนี้ทางด้านจังหวัดอุบลราชธานียังมีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง นั่นก็คือ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) ที่เพิ่งเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อช่วงปลายปี 64 ที่ผ่านมา ใช้ชื่อหุ้นว่า UBE ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายและแปรรูปมันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์ เอทานอลแป้งมันสำปะหลัง แป้งฟลาวมันสำปะหลัง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อินทรีย์อื่น ๆ ที่จะต่อยอดต่อไป โดยตั้งเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 1 แสนไร่ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงระยะเวลา 3 ปี และมีแผนพัฒนาทางด้านธุรกิจ Contact Farming ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เพื่อให้ครบวงจร ครอบคลุมพื้นที่อุบลราชธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร เป็นโมเดลยกระดับเกษตรกรในอนาคต



ในตอนนี้ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญในเรื่องของ Carbon Credit กันมากขึ้น ส่งเสริมการใช้และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ รวมถึงพลังงานธรรมชาติ ต้องถือได้ว่าหุ้น BRR และหุ้น UBE เป็นธุรกิจในต่างจังหวัดที่สามารถยกระดับการลงทุน หากประเทศไทยมีการส่งเสริมในเรื่องราวดังกล่าวนี้ ก็จะเป็นประโยชน์ด้านการลงทุนในอนาคตกับกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนไป