EXIM BANK โชว์ผลงาน Q1/65 ปล่อยกู้ลูกค้าใหม่เพิ่ม 3 เท่า กำไรสุทธิเพิ่มร้อยละ 346.05 ลุยเปิดสนง.ผู้แทนเวียดนามมิ.ย.นี้

EXIM BANK เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2565 ขยายสินเชื่อและสนับสนุนลูกค้าผู้ประกอบการ โดยเฉพาะSMEs ได้มากขึ้น โดยมีวงเงินอนุมัติใหม่ 14,973 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 74.37% ทำให้เกิดผู้ส่งออกป้ายแดงและธุรกิจใหม่มากขึ้น เป็นวงเงินลูกค้า SMEs 4,541 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 215.67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ธนาคารสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ได้มากถึง 11,041 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 361.86% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ธนาคารเติบโตแข็งแกร่งขึ้นในทุกมิติ มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2565 เท่ากับ 411 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 346.05% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจได้มากขึ้นใน CLMV จากการสนับสนุนของEXIM BANK โดยมียอดคงค้างสินเชื่อโครงการลงทุนระหว่างประเทศใน CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนามรวมทั้งตลาดใหม่ (New Frontiers) 51,554 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,069 ล้านบาท หรือ 18.56% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะในเวียดนามมียอดคงค้าง 13,843 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65.65% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภายหลังเปิดดำเนินการสำนักงานผู้แทนในนครโฮจิมินห์เมื่อปีที่ผ่านมา

ดรรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แถลงผลการดำเนินงานในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 แม้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนที่สูง ทั้งจากผลกระทบของโควิด-19 ที่ยังระบาดอย่างหนักในหลายประเทศ และปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ อาทิ สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ แต่ EXIM BANK ยังคงเดินหน้าตามพันธกิจหลักเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เป็นนักรบเศรษฐกิจที่รู้ทันโลกและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามวิสัยทัศน์ในการเป็น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (Thailand Development Bank)”

EXIM BANK ขับเคลื่อนตามวิสัยทัศน์ที่สนับสนุนการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเพิ่มการจ้างงานและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย โดยในไตรมาส 1 ของปี 2565 EXIM BANK มีวงเงินอนุมัติสินเชื่อใหม่ 14,973 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 74.37% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นวงเงินของลูกค้าขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 4,541 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 215.67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้มีการปล่อยวงเงินอนุมัติสินเชื่อใหม่ให้กับลูกค้ารายใหม่ถึง 11,041 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง361.86% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนความสำเร็จของธนาคารในการเข้าถึงธุรกิจรายใหม่ ทำให้มีสินเชื่อคงค้าง 150,621 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,209 ล้านบาท หรือ 12.06% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า 38,030 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อการลงทุน 112,591 ล้านบาท

นอกจากนี้ EXIM BANK ยังมุ่งมั่นเป็นผู้นำ (Lead Bank) พากิจการไทยไปปักธงในตลาด CLMV และ New Frontiers ที่มีศักยภาพและอัตราการเติบโตสูง โดย  สิ้นเดือนมีนาคม 2565 EXIM BANK มียอดคงค้างสินเชื่อโครงการระหว่างประเทศรวมทั้งสิ้น 65,688 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 5,543 ล้านบาท หรือ 9.22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อจำแนกเป็นรายตลาดที่สำคัญ EXIM BANK ยังสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการสยายปีกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV และตลาดใหม่ (New Frontiers) อย่างต่อเนื่อง โดย  สิ้นไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 มีสินเชื่อคงค้างจำนวน 51,554 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,069 ล้านบาท หรือ 18.56% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นสินเชื่อคงค้างในเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศล่าสุดที่ธนาคารได้เปิดทำการสำนักงานผู้แทน จำนวน 13,843 ล้านบาท เพิ่มขึ้น65.65% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย EXIM BANK มีกำหนดจัดพิธีเปิดสำนักงานผู้แทนในนครโฮจิมินห์อย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายนนี้

ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นของเศรษฐกิจโลก EXIM BANK เร่งเสริมสร้างความมั่นใจแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยด้วยการเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงต่าง  โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้ประกอบการมีโอกาสได้รับชำระเงินล่าช้าหรือถูกปฏิเสธการชำระค่าสินค้า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 53,164 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 799 ล้านบาท หรือ 1.52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

ขณะเดียวกัน EXIM BANK ให้ความสำคัญกับการรักษาสถานะทางการเงินที่มั่นคง โดยมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวน 4,307 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio)  สิ้นเดือนมีนาคม 2565 เพียง 2.86% แต่มีค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) จำนวน11,880 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง คิดเป็นอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Coverage Ratio) 275.81% ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 EXIM BANK มีกำไรสุทธิเท่ากับ411 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 346.05% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากการมุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการไทยทั้งด้านสินเชื่อและบริการประกัน ส่งผลให้  สิ้นเดือนมีนาคม 2565 EXIM BANK มีจำนวนลูกค้าอยู่ที่ 5,022 ราย เพิ่มขึ้นถึง 16.76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในจำนวนนี้เป็นลูกค้าSMEs 82.78% ซึ่ง EXIM BANK ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจต่าง  แม้แต่ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และต้นทุนโลจิสติกส์สูงขึ้น อาทิ สินเชื่อ EXIM เพื่อซัพพลายเออร์ส่งออก และสินเชื่อ EXIM Logistics ที่ EXIM BANK ดำเนินการร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อลดภาระต้นทุนให้กับผู้ส่งออกและนำเข้า นอกจากนี้ ได้เผยแพร่ข้อมูลและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการผ่านการให้คำปรึกษาและจัดอบรมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ทำให้  สิ้นเดือนมีนาคม 2565 EXIM BANK ได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการกว่า 14,200 ราย ด้วยวงเงินรวมประมาณ 76,700 ล้านบาท

ปี 2565 EXIM BANK ยังคงเดินหน้าขยายบทบาทการเป็น Thailand Development Bank ที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนของประเทศและเดินเกมเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูง โดยมุ่งผลักดันการพัฒนาประเทศในมิติเศรษฐกิจ เชื่อมโยงกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการดำเนินภารกิจ ซ่อม สร้าง เสริม และสานพลัง กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เป็นฟันเฟืองสำคัญของการพัฒนาประเทศผ่านการสนับสนุนโครงการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (BCG Economy) เพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของไทยให้ผลิตและส่งออกสินค้า/บริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น พัฒนาภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่รองรับความต้องการของผู้ประกอบการ เช่น พัฒนาระบบนิเวศของตลาดคาร์บอน สนับสนุนสินเชื่อเพื่อลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา (Solar Orchestra) ออกผลิตภัณฑ์อื่น  ที่สอดคล้องกับนโยบายการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Finance) ซึ่ง EXIM BANK เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐแห่งแรกที่มีนโยบายดังกล่าวประกอบกับสร้างโอกาสและความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการ SMEs ให้เติบโตในต่างประเทศไปพร้อม  กัน” ดร.รักษ์กล่าว