เอ็มเอพี ชูเทคโนโลยีโรงแยกอากาศที่ใช้นวัตกรรมความเย็นจากก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งแรกในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


มั่นใจช่วยเพิ่มศักยภาพกำลังการผลิตก๊าซอุตสาหกรรมของประเทศ พร้อมชูวิสัยทัศน์ลดการปล่อยคาร์บอนช่วยสิ่งแวดล้อม ตอบรับนโยบายภาครัฐ BCG (Bio-Circular-Green) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)


บริษัท มาบตาพุด แอร์โปรดักส์ จำกัด หรือ เอ็มเอพี จัดสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ครั้งแรกเปิดตัวเทคโนโลยีโรงแยกอากาศที่ใช้นวัตกรรมความเย็นจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ด้วยมาตรฐานระดับโลกเพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซในโรงงานอุตสาหกรรม และสนับสนุนการผลิตของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญด้วยนวัตกรรมและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยเชิญแขกรับเชิญจาก 3 บริษัท ทั้ง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (บีไอจี) และบริษัท มาบตาพุด แอร์โปรดักส์ จำกัด (เอ็มเอพี) ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือและที่มาของโครงการโรงแยกอากาศแห่งใหม่ พร้อมทั้งการนำนวัตกรรมพลังงานความเย็นจาก LNG มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมไทย และเน้นย้ำเป้าหมายของแต่ละองค์การในการช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมลดการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net-zero Emissions

โรงแยกอากาศของเอ็มเอพี เป็นความร่วมมือในการศึกษาต่อยอดนวัตกรรมการใช้ประโยชน์ของความเย็นจาก LNG ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และบริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (บีไอจี) เพื่อนำพลังงานความเย็นจากการเปลี่ยนสถานะของ LNG มาใช้ ซึ่งถือเป็นโรงแยกอากาศแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้นวัตกรรมขั้นสูง สามารถผลิตก๊าซอุตสาหกรรม ได้แก่ ออกซิเจน ไนโตรเจน และอาร์กอน มากถึง 450,000 ตันต่อปี ซึ่งในปัจจุบันพลังงานความเย็นจาก LNG นี้ถูกปล่อยไปกับน้ำทะเล การนำพลังงานความเย็นกลับมาใช้ในกระบวนการแยกอากาศของเอ็มเอพีนี้ จะเป็นการนำพลังงานความเย็นมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้กว่า 28,000 ตันต่อปี จากการลดใช้ไฟฟ้าในกระบวนการแยกอากาศ ซึ่งถือเป็นเริ่มต้นสำคัญของภาคอุตสาหกรรมเพื่อเตรียมพร้อมให้ประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emissions 

นายวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปตท. มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15 ภายในปี พ.ศ. 2573 จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2563 โดยร่วมสนับสนุนเป้าหมายของประเทศผ่านวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond” เพื่อผลักดันการลงทุนในพลังงานอนาคต อาทิ พลังงานจากไฮโดรเจน รวมถึงลงทุนในธุรกิจนอกเหนือจากพลังงาน อาทิ อาหารและยาทางการแพทย์ อีกทั้ง ปตท. วางแผนที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี พ.ศ. 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน”

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ  บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด หรือ บีไอจี กล่าวเสริมว่า “เป้าหมายการลดการปลดปล่อยคาร์บอนของบีไอจีจะร่วมกับแคมเปญ “Third by ’30” ของบริษัท  แอร์โปรดักส์ แอนด์ เคมิคัลส์ อิงค์ (Air Products and Chemicals, Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทแม่จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในปี พ.ศ. 2573 จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ใน 3 จากปี พ.ศ. 2558 ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น การผลิตก๊าซอุตสาหกรรมโดยใช้ไฟฟ้าลดลงเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน การปรับปรุงระบบปฎิบัติการ (Operational Excellence) ให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ในส่วนของบีไอจีจะเน้นใน 3 หัวข้อหลักได้แก่ การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการผลิตในเกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยการปฏิบัติการที่เป็นเลิศ (Operational Excellence) การสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ด้วยการนำนวัตกรรมจากก๊าซอุตสากรรมไปปรับใช้ (Optimize) เพื่อเพิ่มผลผลิต รวมถึงการมี Digital Platform เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก รองรับในยุค 4.0 และ Carbon Reduction Value ซึ่งบีไอจีจะเป็นพันธมิตรในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมในการผลักดักให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ โดยเริ่มจากการผลิตก๊าซอุตสาหกรรมจากโรงแยกอากาศของเอ็มเอพี”

นอกจากนี้ นายพงษ์ศักดิ์ เหลืองจินดารัตน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท มาบตาพุด แอร์โปรดักส์ จำกัด หรือ เอ็มเอพี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “กระบวนการแยกอากาศโดยใช้ความเย็นจาก LNG นั้น ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าเมื่อเทียบกับกระบวนการแยกอากาศทั่วไป โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 28,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ประเทศไทย บนฐานโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปรับตัวของภาคธุรกิจและยังช่วยตอบโจทย์การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นที่ทราบกันดีว่า กลุ่มสหภาพยุโรปได้มีการผลักดันนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าจะมีกฎเกณฑ์บังคับใช้ให้ผู้ผลิตสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ต้องมีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนลงให้ได้ และประเทศอื่น ๆ กำลังขยับตามมาตรการนี้เช่นกัน

ดังนั้น ลูกค้าของเอ็มเอพีทุกรายที่ใช้ก๊าซอุตสาหกรรมจากโรงงานแห่งนี้ สามารถยืนยันได้ว่ามีการใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ช่วยการปลดปล่อย CO2 จากกระบวนการผลิตตั้งต้น ซึ่งถือว่าเป็น Sustainable Offering ของ MAP ในการช่วยให้ธุรกิจของลูกค้าเติบโตไปพร้อมๆ กัน ช่วยลดผลกระทบด้านลิ่งแวดล้อมในเรื่อง Climate Change และยังช่วยผลักดันประเทศไทยเข้าใกล้ Net Zero Emissions อีกด้วย”