ชาวชุมพร Go Green กับ กฟผ. ลุยปลูกป่าชายเลน มุ่งสู่สังคมไร้คาร์บอน สร้างพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ 1 ล้านไร่ภายในสิบปี

กฟผร่วมกับจังหวัดชุมพร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร Kick off โครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม สตาร์ท 10 ไร่แรก  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร พร้อมเดินหน้าขยายเครือข่ายพันธมิตร เพื่อร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมและอากาศที่ดีให้คนไทยครบ 1 ล้านไร่ ตามเป้าหมายภายในปี.. 2574 

นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายนักรบ  ถลาง นายอำเภอเมืองชุมพร นายธัญนรินทร์  นคร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หน่วยงานราชการ นักเรียนนักศึกษา และชุมชน รวมกว่า 200 คน ร่วมกัน Kick off ปลูกป่าชายเลน จำนวน 10 ไร่  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร



นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จังหวัดชุมพรพร้อมร่วมแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจก ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ในที่ประชุมระดับผู้นำการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ซึ่งโครงการปลูกป่าของ กฟผเด่นชัดตรงการให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ จังหวัดชุมพรจึงให้การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเต็มที่เนื่องจากมีความพร้อมในการจัดสรรพื้นที่ปลูกป่า ซึ่งจะช่วยสร้างคุณภาพอากาศที่ดีให้กับชาวชุมพร รวมถึงเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง


ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผเปิดเผยว่า กฟผได้รับความร่วมมือจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ในการจัดงานและจัดเตรียมพื้นที่ โดยการปลูกป่าชายเลนในครั้งนี้ จะปลูกต้นจิกทะเลและต้นโกงกาง รวมกว่า 7,000 ต้น ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยป้องกันการกัดเซาะของน้ำทะเลและเป็นแนวกำบังคลื่นชายฝั่ง รวมถึงมีความสำคัญต่อการวางไข่และฟักตัวของสัตว์น้ำทะเล โดยกิจกรรมนี้อยู่ภายใต้โครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สร้างความยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน และยุทธศาสตร์ กฟผในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอนของ กฟผที่ตั้งเป้าหมายจะมุ่งหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (EGAT Carbon Neutrality) ภายในปี .. 2050 ภายใต้หลักการสร้างสมดุลระหว่างต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเป้าหมายของประเทศไทย มุ่งสู่พลังงานสะอาดและลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี .. 2065 ตามกรอบแผนพลังงานชาติ





โครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม จะช่วยชดเชยการปลดปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการปลูกป่าเพื่อดูดซับและกักเก็บคาร์บอนมากกว่า 1.2 ล้านตันต่อปี นับเป็นภารกิจสำคัญระหว่างหน่วยงานด้านพลังงาน และหน่วยงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้ผนึกกำลังและร่วมกันดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ให้กับประเทศ โดยกฟผมีเป้าหมายในการปลูกป่า ปีละ 1 แสนไร่ รวมจำนวน 1 ล้านไร่ ภายในระยะเวลา 10 ปี ระหว่างปี .. 2565 – 2574 และจะบำรุงรักษาต่อเนื่องอีก 9 ปี จนถึงปี .. 2583 คาดว่า ตลอดระยะเวลาโครงการฯ จะสามารถดูดซับกักเก็บคาร์บอนได้ทั้งสิ้น ประมาณ 23.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ 

นอกจากนี้ กฟผยังได้วางแนวทางดูแลรักษาป่า อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนและพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระบบตรวจติดตามอัตราการรอดตายและอัตราการเติบโตของกล้าไม้ ด้วยเครือข่ายปลูกป่าของ กฟผผสมผสานกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการตรวจติดตาม เช่น ระบบดาวเทียม การใช้โดรน การพัฒนา AI เพื่อเป็นนวัตกรรมการปลูกป่าของ กฟผพร้อมกันนี้ ขอเชิญชวนคนไทยหัวใจรักษ์โลก ปลูกต้นไม้ออนไลน์กับ กฟผผ่าน Application “ECOLIFE” เพื่อเป้าหมายปลูกป่าล้านไร่ หนุนนำประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนไปด้วยกัน