กลุ่ม Maybank Kim Eng จัดสัมมนา Invest ASEAN 2021


 

กลุ่ม Maybank Kim Eng เดินหน้าจัดงานสัมมนา Invest ASEAN 2021 อย่างต่อเนื่อง และครั้งนี้มาในหัวข้อASEAN Macro Outlook & ASEAN Strategy โดยได้รับเกียรติจาก Chua Hak BinRegional Co-HeadMacro ResearchMaybank Kim Eng GroupAnandPathmakanthan,Head of Regional Equity ResearchMaybank Kim EngThilan Wickramasinghe, Head of Research SingaporeHead of Regional FinancialsMaybank Kim EngSuhaimi lliasRegional Co-Head,Macro Research, Maybank Kim Eng ดำเนินรายการโดย Sophie KamaruddinMarkets ReporterBloomberg TV ด้วยการนำเสนอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ 

ทีมวิจัย บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ได้สรุปสาระสำคัญของงานสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ ASEAN Macro Outlook & ASEAN Strategy ไว้ดังนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศใน ASEAN อยู่ในช่วงของการฟื้นตัว ด้วยแรงขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ และพึ่งพาภาคการผลิตของประเทศพัฒนาแล้ว(Developed) ซึ่งเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศกำลังพัฒนา (Emerging) ในขณะที่การบริโภคในประเทศ และการท่องเที่ยวยังเป็นส่วนที่ฟื้นตัวได้ช้าในทุกๆประเทศ ASEAN จากผลกระทบของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่โดยมุมมองต่อนโยบายการเงินสหรัฐฯ ต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของสหรัฐฯกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะเริ่มต้นจากการทำ QE Tapering น่าจะส่งผลเชิงลบต่อตลาดการเงิน ASEAN ไม่มากนัก (คงมุมมองเดิม) เนื่องจากทุกประเทศอยู่ในจุดที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้น ASEAN ไม่ได้อยู่ในช่วงภาวะกระทิง (Bull Market) ดังเช่นช่วงที่มีการทำ QE Tapering ครั้งที่ผ่านมา

ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ASEANดังนี้  สิงคโปร์: ฟื้นตัวได้เร็วหากเทียบกับประเทศอื่นๆใน ASEAN เศรษฐกิจสิงคโปร์ ได้แรงหนุนจากกลุ่ม Manufacturing ตามแนวโน้มการกระจายวัคซีนที่ทำได้เร็ว (GDP 2Q64 ขยายตัว +14.3% YoY เร่งตัวจาก +1.3% ใน 1Q64) แนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และโอกาสการปรับเพิ่มประมาณการกำไรตลาด ตลอดจนการเริ่มกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบ Tightening มากขึ้น น่าจะส่งผลให้หุ้น Value มีความน่าสนใจมากกว่าหุ้น Growth เวียดนาม: ตลาดหุ้นผันผวนสูงตามสถานการณ์ COVID-19 หลังตลาดหุ้นเวียดนามผ่านพ้นช่วงการปรับฐานรอบใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา ก็ยังคงให้น้ำหนักกับสถานการณ์ COVID-19 ต่เนื่อง อย่างไรก็ตามมาตรการด้านการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการปรับลดภาษีบริษัท (Corporate Tax) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบรรเทาผลกระทบเชิงลบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจ มาเลเซีย: กระตุ้นด้านการคลังรอบใหม่ ยังเผชิญปัญหาจากสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศ และล่าสุดยังอยู่ในช่วงของการอัดฉีดเงินเยียวยาด้านการคลังจากภาครัฐ (เงินช่วยเหลือโดยตรงรวมประมาณ MYR83bn. หรือคิดเป็น 5.9% ของ GDP) ฟิลิปปินส์: เริ่มมีความคาดหวังเล็กๆ ท่ามกลางปัญหา COVID-19 ที่ยังรุนแรงเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบปัญหา COVID-19 สายพันธุ์ Delta ล่าสุดจำเป็นต้องใช้มาตรการ Lockdown ควบคุมการแพร่ระบาด อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเริ่มมีความคาดหวัง หลังจากที่การกระจายวัคซีนทำได้เร็วขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา และน่าจะได้แรงหนุนจากการลงทุนภาครัฐ ในช่วงหลังการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้

 

 

 

อินโดนีเซีย: ได้แรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และความหวังการเร่งฉีดวัคซีน เศรษฐกิจของอินโดนีเซียได้แรงหนุนให้น่าจะเข้าสู่จุดฟื้นตัวจากมาตรการเชิงผ่อนคลายทั้งด้านการเงิน (ล่าสุดปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 1Q64) และการผ่อนปรนเงื่อนไขการปล่อยกู้ การช่วยเหลือลูกหนี้ นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังทรงตัวในระดับสูงได้ต่อเนื่อง ไทย: ภาคการท่องเที่ยวโดนผลกระทบเชิงลบรุนแรงต่อเนื่อง แนวโน้มเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย ซึ่งพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก โดนผลกระทบจากสถานการณ์  COVID-19 ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเร่งตัวขึ้นในช่วง 2Q64 ที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา Underperform และมีความกังวลต่อแผนการเปิดประเทศของรัฐบาลว่าอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

จากมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและตลาดการเงินในแต่ละประเทศใน ASEAN จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าให้น้ำหนักกับปัจจัยเดียวกัน นั่นคือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ อย่างไรก็ตามปัจจัยเฉพาะตัวของแต่ละประเทศนำโดย 1) โครงสร้างเศรษฐกิจ 2) นโยบายด้านการเงิน และการคลังของภาครัฐ 3) ความรวดเร็วในการควบคุมการแพร่ระบาด/การกระจายวัคซีน ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางและอัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากพิจารณาภาพรวมของไทยเทียบกับประเทศใน ASEAN พบว่าแนวโน้มการฟื้นตัวถือว่าทำได้ไม่เร็วนัก จากโครงสร้างที่เศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก (แม้ส่งออกไทยจะโดดเด่น แต่เกือบทุกประเทศใน ASEAN ดีเหมือนกันหมด ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวเด่น) อีกทั้งการกระจายวัคซีนหากพิจารณาถึงปัจจุบันยังคงช้ากว่าเป้าหมายของทางภาครัฐ