บลจ.วี เปิดขาย IPO “WE-EUROPE” สร้างโอกาสรับผลตอบแทนรับเศรษฐกิจเปิดเต็มตัว  

บลจ.วี มองเศรษฐกิจยูโรโซนยุคใหม่หลังการระบาด COVID-19 คลี่คลาย เศรษฐกิจเปลี่ยนสู่เทคโนโลยีมากขึ้นเป็นจังหวะลงทุนหุ้นยุโรป แนะนำ กองทุนเปิด วี ยุโรป ออพพอร์ทูนิตี้ (WE-EUROPE)” เปิดขาย IPO  ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2564 สร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ระบุ เศรษฐกิจยุโรปกำลังฟื้นตัว หนุนบริษัทจดทะเบียนเติบโตโดดเด่นและมีระดับราคาที่น่าสนใจ เป็นจังหวะลงทุนที่จะสร้างโอกาสรับผลตอบแทนสูงในระยะยาวหลังเปิดเศรษฐกิจเต็มตัว”      

นายอิศรา พุฒตาลศรีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (บลจ.วี)  เปิดเผยว่า เศรษฐกิจยูโรโซน นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ปัจจุบันแม้ว่าจะเจอการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์เดลต้า แต่ด้วยประสิทธิภาพและการกระจายการฉีดวัคซีนให้ประชากรอย่างต่อเนื่องส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจของยุโรปฟื้นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

โดยดัชนียอดคำสั่งซื้อผู้จัดการ (PMI) ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการได้มีการปรับตัวขึ้นมา ส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจนในภาคธุรกิจของยุโรปและในประเทศสหราชอาณาจักร แม้ว่าจะยังมีปัญหาคอขวดในกระบวนการผลิต (Supply chain bottleneck) และทำให้มีการส่งมอบสินค้าล่าช้าก็ตาม นอกจากนี้คาดว่าการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะขยายตัวได้ดีหลังจากนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือต่างๆทำให้รายได้ของประชาชนได้รับผลกระทบไม่มากนัก เป็นปัจจัยสนับสนุนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปในระยะถัดไป

ทั้งนี้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะปรับตัวดีขึ้น คาดการณ์การเติบโต GDP ในปี 2021 อยู่ที่ 4.7% และในปี 2022 ประมาณการอยู่ที่4.9% ในขณะที่ด้านอัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ระดับ 1.9% และอ่อนตัวลงในปี2022 ขณะที่ยังได้รับการสนับสนุนจากนโยบายด้านการเงินและการคลัง โดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงการเข้าซื้อสินทรัพย์ในโครงการ Asset Purchase Program (APP) และมีการเข้าซื้อพันธบัตรในโครงการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ทําให้สภาพคล่องต่อระบบเศรษฐกิจและตลาดยังคงมีเพียงพอ

นอกจากนี้ยุโรปยังเริ่มการปฏิรูปสหภาพยุโรปให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้นในอนาคต โดยมีมาตรการ Next Generation EU (NGEU) ที่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรป เพื่อทำให้กลุ่มยูโรโซนหลัง COVID-19 มีรูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Greener) , รวมถึงใช้ระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น (More digital) และมีความยืดหยุนในการดำเนินเศรษฐกิจมากขึ้น (More Resilient Europe) ทั้งนี้ประเทศสมาชิกในยูโรโซนจะได้รับเงินสนับสนุนจากมาตรการ Next Generation EU รวมกันประมาณ 7.5 แสนล้านยูโร ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3/2021 ซึ่งจะทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจยูโรโซนในระยะจากนี้จะมีการลงทุนเพื่อเปลี่ยนไปสู่การใช้นวัตกรรมทางดิจิทัลและเทคโนโลยีมากขึ้น (Digital Transformation)  เช่น การผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ , การลงทุนในเทคโนโลยีภาคบริการเพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่เปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล และการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อรองรับการลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (European Green Deal) การสร้างอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิตที่ลดการใช้พลังงานและทรัพยากร (Clean Technology)

ด้าน Valuation ดัชนี Stoxx Europe 600 Forward Price to Earnings ratio (PE) 2021 อยู่ที่ระดับ 17.9 ในขณะที่ดัชนี S&P 500 อยู่ที่ระดับ22.5 ส่งผลให้ตลาดหุ้นยุโรปจึงมีความน่าสนใจ เห็นได้จากดัชนีที่ปรับตัวสูงขึ้นและมีระดับราคา (Valuation) ที่ยังถูกกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะหุ้นยุโรปในกลุ่มขนาดเล็กที่มีผลประกอบการดีกว่ากลุ่มหุ้นขนาดใหญ่

 

บลจ.วี จึงเปิดเสนอขาย IPO กองทุนเปิด วี ยุโรป ออพพอร์ทูนิตี้ (WE-EUROPE) ระหว่างวันที่ 27  กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2564 กองทุนมีระดับความเสี่ยงระดับ 6 ความเสี่ยงสูง ลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท โดยมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรปยุคใหม่ เน้นลงทุนในธุรกิจที่สามารถเติบโตได้ในทุกภาวะตลาด ผ่านกองทุน Berenberg European Focus Fund ในสัดส่วน 70% และเน้นลงทุนเชิงรุกหุ้นขนาดเล็กที่อยู่กลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (European Economic Area : EEA) และสหราชอาณาจักร ผ่านกองทุน Janus Henderson Pan European Smaller Companiess ในสัดส่วน 30%

ตัวอย่างบริษัทที่ลงทุนเช่น

1.)Teleperformance (France) ผู้ให้บริการและพัฒนาแบรนด์ ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

2.) Netcompany (Denmark) ผู้ให้บริการด้านไอทีผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและบริการโครงสร้างพื้นฐาน

3.) HelloFresh (Germany) ผู้ให้บริการจัดหาอาหารโฮมเมดที่ดีต่อสุขภาพให้ทุกครัวเรือน

4.) ASML Holding NV (Netherland) ผู้นําด้านนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

5.) KERING SA (France) บริษัทที่เชี่ยวชาญสินค้าฟุ่มเฟือย แบรนด์ดังอย่าง Gucci, Yves Saint Laurent และ Bottega Veneta

ทั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์ลงทุนเชิงรุกที่เน้นลงทุนในหุ้นที่เติบโตมีผลประกอบการดีและมีราคาที่น่าสนใจ ทำให้กองทุนหลัก Berenberg European Focus Fund  วันที่ 31 .. 2564 ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 13.60% ย้อนหลัง 1 เดือนอยู่ที่ 2.10% ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 46.12% ย้อนหลัง 3 ปีอยู่  68.17% และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 77.74% เทียบกับดัชนี MSCI Europe EUR อยู่ที่ 13.08% , 2.56% ,  29.67.% , 22.14%, และ 23.75% ต่อปี ตามลำดับ (แสดงผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง ไม่ปรับเป็นอัตราต่อปี)เช่นเดียวกับ กองทุน Janus Henderson Pan European Smaller Companies ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็กที่อยู่ ในกลุ่ม EEA และสหราชอาณาจักร ทำให้  วันที่ 31 .. 2564 ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือนอยู่ที่ 2.9% ย้อนตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 22.1% ย้อนหลัง 1 ปีอยู่  70.4% ย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 13.4% ย้อนหลัง 5 ปีอยู่ที่ 14.5 ย้อนหลัง 10ปี อยู่ที่ 12.7% และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 12.2% เทียบกับดัชนี EXIX Smaller European Companies อยู่ที่  2.3% , 16.0% ,  48.0% , 10.2% , 10.7% , 10.5%  และ 10.1% ต่อปี ตามลำดับ*

ภูมิภาคยุโรปที่มีสัดส่วนเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก กำลังฟื้นตัวส่งผลให้หุ้นหลายกลุ่มได้รับประโยชน์เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภค อีกทั้งความสามารถในการกระจายฉีดวัคซีนที่รวดเร็วรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังดำเนินอยู่ ทำให้ตลาดหุ้นยุโรปมีความน่าสนใจจากแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจและระดับราคาที่ไม่แพง “กองทุนเปิด วี ยุโรป ออพพอร์ทูนิตี้ (WE-EUROPE)”  จึงเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนในต่างประเทศที่มีโอกาสเติบโตได้ในระยะยาว” นายอิศรา กล่าว

*ผลการดำเนินงานน้อยกว่า 1 ปี แสดงผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงไม่ปรับเป็นอัตราต่อปี ผลการดำเนินงานมากกว่า 1 ปี แสดงผลการดำเนินงานเป็นอัตราต่อปี

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (“บลจ.วี”) โทรศัพท์ 02-351-1800 กด 2 หรือตัวแทนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของบลจ.วี ได้แก่ บล.เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน), บล.หยวนต้า , บล.โนมูระบล.เคจีไอบล.เอเชียเวลท์บล.ฟิลลิปบล.กรุงศรีบล.ไทยพาณิชย์,  บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์,บล.คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทยจำกัด (มหาชน),  บลน.โรโบเวลธ์บลน.ฟินโนมินา,  บลน.เวลท์ รีพับบลิคบลน.เว็ลธ์เมจิกบลนแอสเซนด์ เวลธ์ และ บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน)