UAC เสิร์ฟข่าวดี จ่อบุ๊กกำไรปันผลจาก BBF กว่า 119 ลบ. ไตรมาส 2 ปี 64 นี้

บมจ. ยูเอซี โกลบอล (UAC) แจ้งข่าวดี จ่อรอบุ๊คกำไรจากบริษัทร่วมทุน “บางจาก ไบโอฟูเอล” หรือ BBF ไตรมาส 2/2564 นี้ จำนวน 119.92 ล้านบาท ตามสัดส่วนการถือหุ้น 30 % หลังบอร์ด BBF เคาะจ่ายปันผลครึ่งหลัง ปี2563 (ก.ค.-ธ.ค.63) ในอัตราหุ้นละ142 บาท กำหนดเข้า AGM วันที่ เม.ย. และจ่ายวันที่ 28 เม.ย. นี้ ด้าน CEO “ชัชพล ประสพโชค” ชี้สถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย หนุนการใช้งาน B100 ฟื้น พร้อมลงสนามทดลองจำหน่ายกลีเซอรีนบริสุทธิ์แล้ว เดินหน้าเตรียมต่อยอดธุรกิจในการใช้เป็นวัตถุดิบในสินค้าต่างๆ อาทิ สบู่ ยา และเครื่องสำอาง

          นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี                   โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ UAC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผล สำหรับผลการดำเนินงานงวดวันที่ มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม  2563 ในอัตราหุ้นละ 227 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 639.01 ล้านบาท โดย   บริษัทฯ ถือหุ้น BBF ในสัดส่วนร้อยละ 30 คิดเป็นเงินปันผลจำนวน 191.70 ล้านบาท ทั้งนี้ BBF ได้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกของปี 2563 เมื่อวันที่ กันยายน 2563 ในอัตราหุ้นละ 85 บาท

ดังนั้น ยังคงเหลือเงินปันผลที่จะจ่ายในงวดครึ่งปีหลัง 2563 ในส่วนที่เหลือครั้งนี้ ในอัตราหุ้นละ 142 บาท คิดเป็นเงิน 119.92 ล้านบาท โดยทางคณะกรรมการของ BBF เห็นชอบให้เสนอการจ่ายปันผลในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นวันที่ เมษายน 2564 และกำหนดการจ่าย ในวันที่ 28 เมษายน 2564 คาดว่า UAC จะรับรู้กำไรจากเงินปันผลเข้ามาในไตรมาส 2/2564 

ทั้งนี้ การผลิตผลิตภัณฑ์ B100 และการจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น และราคาขายเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้นำมันดีเซลในภาคการขนส่งภาคการเกษตรกลับมาฟื้นตัว ประกอบกับความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบในช่วงที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับสูงขึ้น ส่งผลให้กำไรขั้นต้นปรับเพิ่มสูงขึ้นตาม

 ขณะเดียวกันในช่วงที่ผ่านมา ทาง BBF มีรายได้บางส่วน จากการทดลองจำหน่ายกลีเซอรีนบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากโครงการ Refined Glycerin Plant ที่งานก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จและอยู่ระหว่างการทดสอบการเดินเครื่องหน่วยผลิต โดยเป็นการนำกลีเซอรีนดิบไปผ่านกระบวนการกลั่นจนได้กลีเซอรีน  บริสุทธิ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้มากมาย อาทิ การผลิตสบู่ ยา และเครื่องสำอาง