BAM ย้ำจุดแข็งผู้นำบริหารสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของไทย

BAM มั่นใจในศักยภาพระยะยาวขององค์กรในฐานะบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทยมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ(NPLs) และทรัพย์สินรอการขาย(NPAs) ของประเทศพร้อมชี้จุดแข็งธุรกิจบริหารสินทรัพย์ที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ในทุกภาวะเศรษฐกิจเดินหน้าด้วยยุทธศาสตร์หลักผลักดันการเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่องเมื่อเดือนสิงหาคม2562 ที่ผ่านมาบริษัทฯได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(สำนักงานก...) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก(IPO) และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) โดยหุ้นที่เสนอขายประกอบด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน280 ล้านหุ้นหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน1,255 ล้านหุ้นและอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน(Greenshoe) จำนวนไม่เกิน230 ล้านหุ้นรวมทั้งสิ้นจำนวนไม่เกิน1,765 ล้านหุ้นคิดเป็นร้อยละ54.4 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้(กรณีมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากบริษัทฯทั้งจำนวนโดยจะนำเงินจากการระดมทุนไปขยายธุรกิจโดยซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายในอนาคตชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงินและ/หรือชำระหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทฯและ/หรือตั๋วเงินจ่ายที่ถึงกำหนดและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

นางทองอุไรลิ้มปิติประธานกรรมการบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์จำกัด(มหาชนกล่าวถึงความมั่นใจในแผนการระดมทุนว่า“BAM เชื่อมั่นในศักยภาพและจุดแข็งของบริษัทฯซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศมีประสบการณ์ยาวนานกว่า20 ปีมีแหล่งเงินทุนที่หลากหลายผลประกอบการที่แข็งแกร่งโดยในช่วงปีที่ผ่านมาบริษัทฯมีกำไรสุทธิต่อเนื่องปีละกว่า4,500 ล้านบาทมีสินทรัพย์เติบโตเฉลี่ยร้อยละต่อปีมีเครือข่ายทั่วประเทศมากที่สุดรวม26 แห่งมีทีมงานประสบการณ์สูงและปัจจัยที่สำคัญคือธุรกิจบริหารสินทรัพย์มีโอกาสในทุกภาวะเศรษฐกิจกล่าวคือในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวบริษัทฯสามารถเลือกซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพได้ในต้นทุนที่เหมาะสมในช่วงภาวะเศรษฐกิจแข็งแกร่งลูกหนี้ของบริษัทฯมีศักยภาพในการชำระหนี้และลูกค้าของบริษัทฯมีกำลังซื้อทรัพย์สินรอการขายเป็นการสร้างรายได้ให้กับบริษัทฯ

การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานทำให้บริษัทฯสามารถระดมทุนและเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้นBAM จะสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” นางทองอุไรกล่าว

ธุรกิจการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในระยะเวลาปีที่ผ่านมาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบธนาคารมีอัตราการเติบโต(CAGR) เฉลี่ยร้อยละ12.8 ประกอบกับราคาประเมินที่ดินล่าสุดในช่วงสี่ปีที่ผ่านมามีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยโดยภาพรวมทั้งประเทศที่ร้อยละ27.7 จากโอกาสทางธุรกิจนี้BAM กำหนดยุทธศาสตร์หลักที่จะสานต่อการเติบโตในอนาคตและเพิ่มความแข็งแกร่งให้องค์กร

ยุทธศาสตร์ที่ขยายฐานทรัพย์สินBAM ติดตามการขายNPLs และNPAs อย่างใกล้ชิดเพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายสินทรัพย์และคัดเลือกสินทรัพย์ที่มีศักยภาพสูงซึ่งจะทำให้บริษัทฯสามารถบริหารต้นทุนการได้มาซึ่งสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้การที่บริษัทฯมีสาขาทั่วประเทศมีพนักงานที่มีประสบการณ์สูงและมีความเข้าใจในตลาดอย่างดีทำให้บริษัทฯสามารถประเมินศักยภาพและราคาทรัพย์ได้แม่นยำ

ยุทธศาสตร์ที่ลดระยะเวลาการดำเนินงานเพื่อสร้างรายได้ให้เร็วขึ้นBAM ให้ความสำคัญกับการเจรจากับลูกหนี้การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการให้ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้ตามกำลังที่สามารถBAMให้ความสำคัญกับการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่ายเท่าที่เป็นไปได้พร้อมกันนี้BAM ยังทำการตลาดเชิงรุกโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเช่นเว็บไซต์และช่องทางSocial Media ขององค์กรฯลฯ

ยุทธศาสตร์ที่การพัฒนาคนเพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กร  BAM เชื่อว่าพนักงานที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จทางธุรกิจ  จึงได้จัดการฝึกอบรมพนักงานทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อพัฒนาความสามารถของพนักงานรวมทั้งมีการเตรียมแผนการสืบทอดตำแหน่งที่ชัดเจน

BAM ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยในปี2561 BAM มีกำไรสุทธิรวมที่5,202.02 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ15.58 จากปี2560”

ทั้งนี้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทฯจนถึงวันที่31 มีนาคม2562 บริษัทฯได้ปิดบัญชีเงินให้สินเชื่อจากการซื้อลูกหนี้(NPLs) ซึ่งคำนวณจากมูลค่าต้นทุนการซื้อไปแล้วเป็นจำนวน90,562.65 ล้านบาทโดยสามารถเรียกเก็บเงินสดได้จำนวน122,931.74 ล้านบาท,มีเงินสดรับจากธุรกิจNPLs และNPAsรวมทั้งสิ้น16,569.10 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี2560 ที่ทำได้13,515.74 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ22.59 และมีกำไรสุทธิรวมอยู่ที่5,202.02 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี2560 ที่ทำได้4,500.82 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ15.58 ณวันที่31 มีนาคม2562 BAM มีเงินให้สินเชื่อจากการซื้อลูกหนี้สุทธิ  (NPLs) จำนวน74,482.33 ล้านบาทซึ่งหลักประกันของลูกหนี้ดังกล่าวมีมูลค่าอิงตามราคาประเมิน1 187,875.26 ล้านบาทและมีทรัพย์สินรอการขายสุทธิ(NPAs) 21,731.04 ล้านบาทโดยมีมูลค่าอิงตามราคาประเมิน1 50,287.17 ล้านบาท ปัจจุบันBAM มีทุนจดทะเบียน16,225  ล้านบาทแบ่งเป็นหุ้นสามัญ3,245 ล้านหุ้นมูลค่าหุ้นละบาทและมีทุนที่ออกและชำระแล้ว13,675 ล้านบาทโดยมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(“FIDF”) ถือหุ้น99.99 % ทั้งนี้หลังจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯFIDF มีนโยบายถือหุ้นBAM ในสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ50 แต่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ45