ก.ล.ต. - คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ คิกออฟ “สัมมนากลุ่มย่อย” ภายใต้โครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน


..ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จัดสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งแรก ในโครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย (ระยะที่ 1) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและการจัดทำข้อมูลด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และระดมความคิดเห็นจากบริษัทจดทะเบียนในหลายอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 และเตรียมจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (CEO Dialogue) สำหรับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ในงานครบรอบ 10 ปี หลักการชี้แนะฯ UNGPs ในวันที่ 14 มิถุนายน 2564  

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ความร่วมมือในการจัดทำหลักสูตรอบรมธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 และร่วมกันจัดทำ “โครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย (ระยะที่ 1)” เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนอันนำไปสู่วัฒนธรรมองค์กรและการจัดทำนโยบาย รวมถึงแผนปฏิบัติงานในเรื่องสิทธิมนุษยชนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล จนนำไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำมาเปิดเผยในแบบรายงานเดียว (56-1 One Report) ได้ ตามกรอบการดำเนินการที่กำหนดโดยคณะทำงานจัดทำหลักสูตรอบรมธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุน*  

การจัดสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) ในครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมแรกภายใต้โครงการดังกล่าว โดยมีคณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมบรรยายหลักการและความสำคัญของการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งผู้บริหารระดับสูงและผู้แทนจากบริษัทจดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) หลายภาคส่วนอุตสาหกรรม เช่น บริษัท ปตทจำกัด (มหาชนบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชนธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชนบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชนบริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด(มหาชนและบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทยจำกัด (มหาชนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น 

ทั้งนี้ ผู้ร่วมสัมมนาส่วนใหญ่เห็นความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงประเด็นสิทธิมนุษยชน และได้นำหลักการตรวจสอบและประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ตามที่ระบุไว้ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs) มาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยลดประเด็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังได้รับการยอมรับจากชุมชนโดยรอบ และยังตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้างได้อีกด้วย 


นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ..กล่าวว่า นอกจากนี้ ..ในฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐที่ได้รับมอบหมายพันธกิจตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (.. 2562 – 2565) หรือNational Action Plan on Business and Human Rights: NAP ได้ปักหมุดเพื่อจัดงานครบรอบ 10 ปี หลักการชี้แนะฯUNGPs ในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และพันธมิตร เช่น สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ที่ร่วมกันขับเคลื่อน โดยจะจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (CEO Dialogue) สำหรับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นในเชิงนโยบายของคณะกรรมการและผู้บริหารนำไปสู่วัฒนธรรมองค์กรและการจัดทำนโยบายที่สนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวของภาคธุรกิจในตลาดทุนไทยต่อไป


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แผนดำเนินการในช่วงต้นจะเริ่มจากการจัดสัมมนากลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้บริหารจากบริษัทจดทะเบียน เพื่อนำไปศึกษาเปรียบเทียบกับแนวทางของหลักสากลและของประเทศต่างๆ จากนั้นจะจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น(CEO Dialogue) ซึ่งจะนำไปสู่การจัด “หลักสูตรอบรมธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน” เพื่อขยายองค์ความรู้ แนวคิด และประเด็นการเคารพสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจที่จะเปิดเผยข้อมูลในแบบ 56-1 One Report และอาจต่อยอดไปถึงการวางแนวทางที่นำไปสู่การตรวจสอบการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านสำหรับภาคธุรกิจในอนาคต