ธ.ก.ส. รวมพลังสร้าง3 สิ่งดีงามสู่เศรษฐกิจฐานรากพร้อมอัดฉีด220,000 ล้านบาท ช่วยเกษตรกร

นายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการรักษาการแทนผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (... ) เปิดเผยเนื่องในโอกาสวันสถาปนาครบรอบ 54 ปีและการก้าวสู่ปีที่ 55 ..ว่า ธนาคารฯ ได้สรุปมาตรการช่วยเหลือให้เกษตรกรฟันฝ่าวิกฤติโควิด-19 ดังนี้

1. มาตรการลดภาระหนี้สินด้วยการปรับปรุงโครงสร้างการชำระหนี้(Loan Review) โดยการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งระบบ 1 ปีซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในเดือนมิถุนายน 2564 โดยมีเกษตรกรลูกค้าสหกรณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับประโยชน์  22 ตุลาคม 2563 จำนวนกว่า 3.25 ล้านราย วงเงินพักชำระหนี้กว่า 1.45 ล้านล้านบาท 

2.มาตรการเสริมสภาพคล่อง ลดปัญหาการว่างงานกระตุ้นกลไกการซื้อขายผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ โครงการสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจ SME โดยใช้ Soft Loan ของธนาคารแห่งประเทศไทย ( ปท.) และธนาคารออมสินอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปีเป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งมีเกษตรกรผู้ประกอบและวิสาหกิจชุมชนสหกรณ์ที่ได้รับประโยชน์  22 ตุลาคม2563 จำนวน 5,974 รายวงเงินกู้กว่า 5,085.58 ล้านบาทโครงการสินเชื่อฉุกเฉินวงเงิน 20,000 ล้านบาท และมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกรและครอบครัวในการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นและฉุกเฉินภายในครัวเรือนวงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาทโดยไม่ต้องมีหลักประกันอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.1 ต่อเดือนกำหนดชำระคืนไม่เกิน 2 ปี 6 เดือนนับจากวันกู้และปลอดชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรกมีเกษตรกรและครอบครัวให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านระบบ LINE Official BAAC Family  31 ตุลาคม 2563 จำนวน2,520,680 ราย โดย ..จ่ายสินเชื่อไปแล้วกว่า 8.5 แสนรายวงเงินกว่า 8,484.83 ล้านบาท 

3.มาตรการจ่ายเงินชดเชยรายได้สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโควิด “เราไม่ทิ้งกัน” ของกระทรวงการคลังเดือนละ5,000 บาทระยะเวลา 3 เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2563  ซึ่งมีผู้ใช้สิทธิ์ที่ลงทะเบียนในโครงการกว่า 2.7 ล้านรายเป็นเงินกว่า 43,015 ล้านบาท และธ..ยังตั้งทีมผู้พิทักษ์สิทธิ์ทั่วประเทศกว่า 6,000 ราย เพื่อทำหน้าที่สอบทานการประกอบอาชีพของผู้ขอทบทวนสิทธิ์เพิ่มเติมอีกจำนวน 212,987 ราย  นอกจากนี้ มีโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรรายละ 15,000 บาทโดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2563) จำนวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณ 150,000 ล้านบาทให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยได้นำมาตรวจสอบสถานะผู้ที่เสียชีวิตและความซ้ำซ้อนกับการให้ความช่วยเหลืออื่น  ของรัฐและทยอยโอนเงินผ่าน..ทุกสาขากว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ โดยมีผู้ได้รับสิทธิ์ช่วยเหลือจำนวนกว่า 7.56 ล้านรายเป็นเงิน 113,304 ล้านบาท อีกทั้ง ยังช่วยเหลือตามนโยบายรัฐบาล เช่น การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนพิการ เงินเดือน อสมเงินประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 พืชหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ำมันเป็นต้น


นายสุรชัย กล่าวว่า นอกจากมาตรการช่วยเหลือตามนโยบายรัฐบาลแล้ว ทางธกสยังดำเนินการโครงการสินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิดสินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพและสินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่วงเงิน170,000 ล้านบาทโดยปลอดดอกเบี้ยในช่วง 3 เดือนแรกและในช่วงเดือนที่ 4 เป็นต้นไปดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR ร้อยละ 6.50 ต่อปีและสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทยวงเงิน 50,000 ล้านบาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปีหรือล้านละ 100 บาท

ในช่วงวิกฤตถือเป็นโอกาสของ ..และเกษตรกรลูกค้าในการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงการสื่อสารข้อมูลต่าง  ที่ส่งตรงไปบนมือถือเกษตรกรช่วยสร้างความสะดวกรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์กู้เงินฉุกเฉินการแจ้งข้อมูลเงินเข้า-เงินออกผ่าน BAAC Connect โดยไม่มีค่าใช้จ่ายการแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง  จาก ..ในระบบ LINE Official: BAAC Family การเช็คสิทธิ์โครงการรัฐบาลผ่านเว็บไซต์www. เยียวยาเกษตรกร. com การสื่อสารผ่าน Facebook BAAC Thailand เป็นต้นและในขณะนี้ ..ได้พัฒนาระบบการอนุมัติสินเชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างบริการที่ทันสมัยรวดเร็วแม่นยำตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคใหม่” นายสุรชัย กล่าวตอนท้าย