“ธนาคารโลก” จับมือ “กบข.” เผยรายงานวิธีการประเมินน้ำหนักและคะแนนมูลค่าสินทรัพย์ ตามแนวทางที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล


กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยข้อมูลจากรายงานภายใต้หัวเรื่อง “วิธีการประเมินน้ำหนักและคะแนนมูลค่าสินทรัพย์ลงทุนของ กบขตามหลักการที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล” (Thailand’s Government Pension Fund Environmental, Social & Governance Weight and Score: Asset Valuation Methodology©) อันเป็นผลมาจากโครงการความร่วมมือทางเทคนิคด้านการบริหารเงินทุนเพื่อความยั่งยืนระหว่างกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ ธนาคารโลก ประจำปี 2563

ดรศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ในฐานะหัวหน้าโครงการเปิดเผยว่า “รายงานฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นภายใต้คำแนะนำทางด้านเทคนิคจาก ดรรอรี ซัลลิแวน แห่งองค์การ Chronos Sustainability และได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญภาคการเงินอาวุโสของธนาคารโลก อาทิ มิส ฟิโอน่า สจ๊วต และคุณรัชฎา อนันตวราศิลป์ โดยทาง กบขได้จับมือกับธนาคารโลกในการจัดทำรายงาน วิธีการประเมินน้ำหนักและคะแนนมูลค่าสินทรัพย์ลงทุนของ กบขตามหลักที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล” (ESG Weight and Score: Asset Valuation Methodology©) ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรายงานฉบับนี้กล่าวถึงกระบวนการคัดเลือกหลักทรัพย์ลงทุนของกบขซึ่งมี 3 ขั้นตอนหลักที่ผ่านการพัฒนามาอย่างถี่ถ้วน ได้แก่ 1) กระบวนการก่อนการประเมินสินทรัพย์ (Pre-assessment process) 2) กระบวนการคำนวณน้ำหนัก ESG (ESG Weight Calculation Process) และ 3กระบวนการคำนวณคะแนน ESG (ESG Score Calculation Processes)”

โดยทาง กบขกำลังเตรียมการนำวิธีการประเมินน้ำหนักและคะแนนมูลค่าสินทรัพย์ลงทุนแบบใหม่ตามรายละเอียดในรายงานนี้ มาใช้แทนวิธีการแบบเดิม เนื่องจากวิธีการประเมินตามกระบวนการใหม่นี้จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะสามารถแสดงให้เห็นถึงมูลค่าทางการเงินของสินทรัพย์ลงทุน รวมถึงมูลค่าที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ได้อย่างเป็นรูปธรรมผ่านการบูรณาการข้อมูลจาก MSCI ESG Database และปรับน้ำหนักตามเกณฑ์จากข้อมูลวิเคราะห์ภายในของ กบขเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการลงทุนของประเทศไทยมากขึ้น

เราใช้ข้อมูลจาก MSCI ESG เป็นข้อมูลดิบในกระบวนการที่สองและที่สาม จากนั้นข้อมูลจะถูกปรับให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติด้าน ESG ของ กบขรวมถึงข้อมูลภายในประเทศไทย และข้อมูลจากการวิเคราะห์ภายในองค์กรของเราวิธีนี้จะช่วยปรับปรุงข้อมูลจาก MSCI ESG ให้เป็นข้อมูลภาพรวมทั่วโลกน้อยลงและมีเนื้อหาในระดับท้องถิ่น (Local content) มากขึ้น หลังจากนั้น เราจะนำข้อมูลน้ำหนักและคะแนน ESG ที่ปรับปรุงแล้วเหล่านี้รวมเข้ากับข้อมูลอื่นๆ จากการวิเคราะห์ทางการเงินในกระบวนการกำหนดราคาสินทรัพย์ลงทุนของเราต่อไป” ดรศรีกัญญา กล่าวเพิ่มเติม ในปี2561 กบขได้ประกาศเจตนารมณ์ในการเป็นนักลงทุนอย่างรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงการสร้างผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นและให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนของสังคมโลกไปพร้อมกัน โดย กบขได้ริเริ่มหลากหลายแผนงานนับตั้งแต่ปี 2561 อาทิ เข้าร่วมเป็นสมาชิก PRI, จัดทำ ESG – Integrated Due diligence เพื่อเป็นแนวทางในการติดตามการดำเนินงานเรื่อง ESG ของผู้จัดการกองทุนภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศการปรับกระบวนการลงทุนของ กบขโดยนำปัจจัยด้าน ESG เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในทุกขั้นตอนการนำปัจจัยด้าน ESG มาเป็นหนึ่งในเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกผู้จัดการกองทุนภายนอกการจัดตั้ง ESG-Focused Portfolio และเป็นผู้ริเริ่มโครงการลงนามประกาศเจตนารมณ์แนวปฏิบัติ “การระงับลงทุน” (Negative List Guideline) ร่วมกับนักลงทุนสถาบันรวม 32 รายเป็นต้น