วิกฤตต้มยำกุ้ง ครบรอบ28ปี เศรษฐกิจไทยแกร่งขึ้นเผชิญโจทย์ "บาทแข็ง-โลกชะลอ"
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) เปิดเผยในวาระครบรอบ 28 ปี "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับสถานการณ์ในปี 2540ชี้ว่า ปัจจุบันไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 280.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นถึง 3 เท่า
ขณะที่ระบบธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลดลงเหลือเพียง 2.9% ต่อสินเชื่อรวม และเศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวได้ที่ระดับ 3.1% ในไตรมาสแรกของปีนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ฐานะการเงินจะแข็งแกร่งขึ้นแต่เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับโจทย์ท้าทายใหม่ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความกังวลต่อทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก แม้ความผันผวนของค่าเงินจะต่ำกว่าปี 2540 มาก
นอกจากนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอันเป็นผลจากมาตรการกีดกันทางการค้า (Tariffs) ของสหรัฐฯ และปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย สุดท้ายคือข้อจำกัดด้านนโยบายการคลังที่ทำให้การใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจมีข้อจำกัดมากขึ้น
โดย สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2568 แม้จะเผชิญกับแรงกดดันใหม่ๆ แต่ไม่เหมือนกับวิกฤตปี 2540 เนื่องจากประเทศไทยมีฐานะการเงินที่แข็งแรงกว่าเดิมและระบบเศรษฐกิจมีการปรับตัวได้ดีขึ้น
ย้อนรอบดัชนีหุ่นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งลดลง88%
สำหรับการเคลื่อนไหวดัชนีหุ้นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง มีความผันผวนอย่างรุนแรง
ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) ประสบกับการลดลงอย่างรุนแรง:
* จุดสูงสุดก่อนวิกฤต: ดัชนี SET เคยทำจุดสูงสุดที่ 1,789 จุดในเดือนมกราคม 2537.
* ช่วงวิกฤต: หลังจากรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคม 2540 ดัชนี SET ได้ดิ่งลงอย่างหนัก.
* จุดต่ำสุด: ตลาดหุ้นไทยตกลงไปสู่จุดต่ำสุดที่ประมาณ 204 จุด ในเดือนสิงหาคม 2541.
ตลาดหุ้นตกลงจากจุดสูงสุดถึงประมาณ 88.5% ภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยในขณะนั้น