กอช.จับมือ สสว.สร้างบำนาญวัยเกษียณ

กอชจับมือ สสวสร้างเงินบำนาญเพื่อวัยเกษียณ ให้กับผู้ประกอบการSME พร้อมลุย 3 จังหวัด นำร่องฝึกอาชีพ มีรายได้ สร้างเงินออมเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563  บริเวณห้องโถงวายุภักษ์ 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง นายจักรกฤศฏิ์พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดยมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนผู้ประกอบการ SME ให้เข้มแข็ง ด้านการเงินได้ในภาวะเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ได้ตระหนักถึงการวางแผนทางการเงิน มีเงินออมไว้ใช้รายเดือนหลังเกษียณ เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในอนาคต 



นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เปิดเผยว่า  กอชเป็นกองทุนบำนาญภาคประชาชน มีภารกิจสำคัญในการผลักดันให้ประชาชนที่ไม่มีสวัสดิการจากรัฐบาลได้เข้าถึงการออม เสริมเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศ รวมถึงรองรับสภาพสังคมของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงการออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณหลังอายุ 60 ปี สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 15–60 ปี โดยเริ่มออมเงินตั้งแต่ 50 บาท สูงสูด 13,200 บาท  ต่อปี ทุกครั้งที่สมาชิกส่งเงินออมสะสม รัฐบาลจะเติมเงินสมทบเพิ่มให้ตามช่วงอายุ อาทิ อายุ 15–30 ปี รัฐสมทบให้ 50% ของเงินออมสะสม สูงสุด 600 บาทต่อปี อายุ >30–50 ปี รัฐสมทบให้ 80% ของเงินออมสะสม สูงสุด 960 บาทต่อปี อายุ >50–60 ปี รัฐสมทบให้ 100% ของเงินออมสะสม สูงสุด 1,200 บาทต่อปี  ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือกัน เพื่อสนับสนุนสร้างหลักประกันบำนาญให้แก่ประชาชนแรงงานนอกระบบโดยเฉพาะที่ยังไม่ได้รับสวัสดิการภาคบำนาญได้มีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ ซึ่ง กอชจะมีการให้ความรู้ในการวางแผนทางการเงิน เพื่อส่งเสริมการออมให้กับบุคลากร ผู้ประกอบการ ตลอดจนครอบครัวของกลุ่มผู้ประกอบการ ภายใต้การกำกับดูแล สสวที่ไม่มีสวัสดิการจากรัฐได้มีเงินออมสะสมไว้ใช้ในยามเกษียณ เมื่อไม่มีแรงทำงาน เพื่อสร้างความมั่นคง และยั่งยืนในชีวิต

นางสาวจารุลักษณ์ เลขาธิการ กอชกล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับสมาชิกสสว. 3,000 ท่านแรกที่สมัครและส่งเงินออมสะสมกับ กอชจำนวน13,200 บาท จะได้รับของที่ระลึกเป็นกระเป๋าเดินทางพับได้จัดส่งให้ถึงบ้าน และมีสิทธิเป็นผู้โชคดีรับรางวัลในเดือนธันวาคม 2563 รวมมูลค่ากว่า 1,000,000 บาท ทั้งนี้ กอชขอขอบคุณ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสวที่เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมการออมเงินร่วมกัน โดยจะมีการลงพื้นที่นำร่องทั่วประเทศเพื่อให้ความรู้ด้านอาชีพแก่ประชาชนทั่วไป ควบคู่กับการให้ความรู้การวางแผนการออมเงิน เพื่อความมั่นคงทางการเงินในชีวิต และ กอชหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทาง สสวจะให้ความสนับสนุน กอชที่ดีแบบนี้ตลอดไป 


สำหรับที่ผู้ที่สนใจการออมกับ กอชสามารถสมัคร และตรวจสอบสิทธิก่อนการสมัครด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่แอปพลิเคชันกอช.” Line @nsf.th หรือ หน่วยรับสมัครสมาชิกใกล้บ้านท่าน อาทิ ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ สำนักงานคลังจังหวัด สถาบันการเงินชุมชนตัวแทน กอชประจำหมู่บ้าน ธนาคารของรัฐทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคาร..ธอสธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา รวมทั้งเคาน์เตอร์เซอร์วิส และเครือข่ายรับสมัครทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนเงินออม โทร. 02-049-9000”


ด้านนายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสวได้ประสานความร่วมมือกับ กอชที่จะช่วยกันสร้างวินัยทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ ด้วยภารกิจด้านการสนับสนุนผู้ประกอบการ และการส่งเสริมการออมแก่ประชาชน ด้วยการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการรายย่อยหรือบุคลากรในหน่วยงาน ที่ยังไม่มีสวัสดิการอื่นใดของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้มีเงินออมไว้ใช้เป็นบำนาญรายเดือนในวัยเกษียณ ด้วยการออมเงินกับกอชโดยผู้ประกอบการจะได้รับความรู้ความเข้าใจการบริหารเงินทางธุรกิจ (Financial Literacy) ทำให้มีการวางแผน และบริหารจัดการเงินของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการใช้จ่าย การออมเงินและการจัดการหนี้สิน ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันทางการเงินที่สำคัญ ภายใต้ความร่วมมือนี้มีเป้าหมายผู้ประกอบการรายย่อยที่ให้ความสำคัญ 3 กลุ่มหลัก  คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิก กอชแต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนสมาชิกกับ สสวกลุ่มที่ 2 คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกสสวแล้ว แต่ยังไม่ได้ออมเงินกับ กอชและกลุ่มสุดท้ายคือ ผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกทั้ง สสวและ กอช.  โดย สสวและ กอชจะดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมอาชีพให้แก่สมาชิกร่วมกัน โดยเน้นการฝึกอาชีพที่มีความต้องการของตลาดหรือพื้นที่นั้น โดยจะคัดเลือกพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดสงขลา ขอนแก่นและปทุมธานี เพื่อเป็นการต่อยอดให้สมาชิกสามารถมีธุรกิจการให้บริการได้ในพื้นที่นั้นๆ อนึ่ง ในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ สสวยังมีโครงการต่าง  ที่จะพัฒนาปัจจัยเอื้อต่อการเติบโตของกลุ่ม Micro ให้เติบโตได้ตามวงจรธุรกิจ รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายที่ปรึกษาและผู้ประกอบการไปด้วยกัน  

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ OSS ของ สสวทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ หรือโทรศัพท์ 1301 นอกจากนี้ ยังมีApplication SME Connext ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของ สสวที่จะทำให้ผู้ประกอบการได้ทราบข้อมูลสิทธิประโยชน์ และการให้บริการต่าง  โดยสามารถ Download Application นี้ได้แล้ว