ดีแทค พร้อมทดลองให้บริการ 5 G ในQ3/2563


นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชนหรือ ดีแทค เปิดเผยว่า การให้บริการ 5G ของดีแทค ในขณะนี้ยังไม่มีการให้บริการในลักษณะเชิงพาณิชย์ แต่จะเป็นการทดลองทดสอบ บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้อนุญาตให้ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต ปรับปรุงการให้บริการ บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์(GHz)  จากระบบ 4G เป็นระบบ 5G

เราทำสิ่งที่ลูกค้าต้องการก่อน เรามองไปที่การเชื่อมต่อกันของคน เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าได้ประสบการณ์ที่ดี เราต้องการให้ไฮสปีดแก่ลูกค้ามากที่สุด เพราะ มีคลื่นความถี่ที่ครอบคลุมย่านความถี่ต่ำ ทั้ง 700 MHz  และย่าน 900 MHz และย่านความถี่กลาง 1800 MHz , 2.1GHz และ2300 MHz  ก็จะทำให้ลูกค้าอยู่กับเราได้นาน เป็นยูสเคสก่อนที่จะให้บริการ 5G จริงในอนาคตลูกค้า  ปัจจุบันพฤติกรรมการเปลี่ยนเครื่อง ไม่ใช่ 1หรือ  2  ปี แต่ตอนนี้ เป็น 36เดือน ตอนนี้พฤติการของลูกค้าเปลี่ยนไป เพราะการพัฒนาเครื่องลูกข่าย 5G ไม่ใช่ราคาถูก ส่วนเงินลงทุนอยู่ที่ 8,000-10,000 ล้านบาท

      ด้านนายประเทศ ตัณกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี ดีแทค เปิดเผยว่าการให้บริการ 5G ของดีแทค จะเริ่มเห็นได้ในไตรมาส 3/2563 เป็นลักษณะกรณีศึกษาจากการใช้งานจริง (ยูเคสโดยจะเริ่มทดลองทดสอบกับกลุ่มอุตสาหกรรม บนคลื่นความถี่ย่าน  26 GHz  ส่วนคลื่นความถี่ย่าน  700 MHz ดีแทคหวังว่าจะไม่มีการเลื่อนเนื่องจากที่ผ่านมาติดสถานการณ์โควิด จึงไม่สามารถทำได้ตามกำหนดจากเดิมในเดือน ตุลาคม ที่ผ่านมา ส่วนคลื่นความถี่ 2.1GHz ที่ กสทช.อนุมัติให้ดีแทคอัพเกรดเป็น 5G ได้ซึ่งปัจจุบันนี้ ดีแทคให้บริการทดลองทดสอบเป็นการภายใน ซึ่งการให้บริการ 5G ในการยกระดับการเชื่อมต่อความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี  Massive MIMO การให้บริการ 5G ของดีแทค จะเริ่มลงทุนจริงในครึ่งปีหลังเพราะตอนนี้เราเริ่มเห็นอะไรชัดเจนมากขึ้น  โดยคลื่นย่าน 900 MHz  กสทช.ได้อนุมัติในหลักการเรื่องการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการติดตั้งฟิลเลอร์ ซึ่งคลื่น 900 MHz เราประมูลมาเกือบ 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่ได้ใช้งาน ซึ่งเราก็หวังว่าจะไม่ดีเลย์อีก ส่วนคลื่น 2300 MHz กำลังอยู่ระหว่างเจรจากับ ทีโอที อยู่ ” นายประเทศ กล่าว

    ส่วนภาวะเศรษฐกิจ และการระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผลต่อการใช้งานของลูกค้า ดีแทคตระหนักว่าในช่วงเวลานี้ ลูกค้าต้องการการสนับสนุนและการดูแลเอาใจใส่ ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเมื่อดูจากการคาดการภาวะเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง 8% นักท่องเที่ยงต่างชาติลดลง 80% และมีแรงงานที่เสี่ยงต่อการตกงานหรือสูญเสียรายได้ 8.3 ล้านราย จากภาวะดังกล่าวทำให้การใช้โทรศัพท์มือถือของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป มีความถี่ในการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ยาวนานว่า 36 เดือน ส่วนใช้งานมือถือระบบเติมเงินเพิ่มขึ้น 2 เท่า  


     ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้งานดาต้าและพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่น เปลี่ยนแปลงไปโดยมีการใช้งานดาต้าในที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นกว่าพื้่นที่ธุรกิจ โดยมีการใช้งานในต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้นตามการเคลื่อนย้ายของแรงงาน อัตราการใช้งานดาต้าในกรุงเทพฯเพิ่มขึ้น 5 เท่าปริมาณการใช้งานดาต้าต่อเดือนต่อผู้ใช้งานจากเดินม..- มิย.เพิ่มขึ้น 44% ดีแทคจึงเอาความเปลี่ยนแปลงนี้มาปรับตัวในการดูแลผู้ใช้งานโดยพยายามส่งมอบการใช้งานให้ผู้ใช้งานแบบไร้รอยต่อ