“วิทัย” เดินหน้าสร้างออมสินแบงก์เพื่อสังคมเร่งแก้หนี้เสีย 7.3 แสนบัญชี

วิทัยมอบนโยบายผู้บริหารและพนักงานหลังรับตำแหน่งวันแรก เดินหน้าแก้หนี้เสียกว่า 7.3 แสนบัญชี พร้อมตั้งสำรองหนี้สูญ 5 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าธนาคารเพื่อสังคมลดรายจ่ายเน้นความโปร่งใส

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวมอบนโยบายเนื่องในวันที่เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 .. ว่า ตนดีใจจริงๆ ที่ได้มีโอกาสกลับมาธนาคารออมสิน ซึ่งตนดีใจจริงที่ได้มีวันนี้ และเป็นความตั้งใจ เป็นความปราถนาโดยลึกๆ แล้วว่าตนจะกลับมาทำงานที่ธนาคารออมสินอีกครั้งหนึ่งด้วยบทบาทใดบทบาทหนึ่ง เมื่อมีได้รับความไว้วางใจให้มีโอกาสกลับเข้ามาเป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ตนก็ดีใจ ทั้งนี้ ตนมีความตั้งใจที่ชัดเจนมากว่าต้องการให้ธนาคารออมสินเป็นธนาคารเพื่อสังคม (Social Bank) โดยธนาคารฯ ต้องพิจารณาตำแหน่งที่จะดูแลประชาชน ดูแลเศรษฐกิจฐานราก ดูแลคนจน และเป็นกำลังหลักของประเทศอย่างจริงในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่เวลาที่กล่าวเช่นนี้ตนไม่ได้หมายความว่าที่ผ่านมาธนาคารออมสินไม่ได้ทำบทบาทดังกล่าว เพียงแต่ว่าบทบาทนี้จะต้องมีความชัดเจนมากขึ้นและต้องเป็นรูปธรรมจริงๆ โดยพิจารณาจากการมียอดสินเชื่อในกลุ่มนี้ที่เพิ่มขึ้น ต้องมียอดจำนวนคนที่ธนาคารฯ สามารถช่วยเหลือได้จริงๆ และต้องมีบทบาทช่วยเหลือประเทศชาติได้โดยไม่ใช่มุ่งที่การสร้างภาพลักษณ์ แต่ต้องการผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากที่มีความตั้งใจจริง ยังย้ำด้วยว่า เวลาที่บอกจะเป็นธนาคารเพื่อสังคมนั้น ไม่ได้หมายความว่ากำไรต้องลดลง เนื่องจากบริษัทนอนแบงก์ที่ทำธุรกิจ จะมีกำไรอย่างมากมายจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 24-28%  แต่หากธนาคารออมสินสามารถช่วยลดกำไรส่วนเกินตรงนี้ลงมาได้ ก็จะมีกำไรที่พอดี และยังสามารถช่วยคนได้ไปพร้อมกันด้วย นอกจากนี้ การจะเป็นธนาคารเพื่อสังคมนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเลิกธุรกิจแบงก์พาณิชย์ที่ทำอยู่ด้วย ต้องพิจารณาว่าธุรกิจใดที่มากเกินไป หรือธุรกิจที่ทำแล้วอาจจะเป็นการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ต้องทบทวนดูว่าจะลดขนาดหรือเปลี่ยนจุดเน้นหรือจุดโฟกัสบ้าง เนื่องจากธนาคารฯ ยังต้องทำธุรกิจโดยทั่วไปเพื่อนำกำไรมาหล่อเลี้ยงช่วยเหลือคนจน และเป็นความชัดเจนว่าธุรกิจของธนาคารออมสินจะมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือสังคม ซึ่งเราจะกลับมาสู่ตัวตนจริงๆ ของธนาคารออมสินที่ตนรู้จัก ซึ่งต้องช่วยคนจน ช่วยฐานราก อยู่กับคนจน อยู่กับชุมชน ภารกิจแต่เดิมนั้นทำมาดีแล้ว เราจะต่อยอดต่อไปเพื่อทำส่วนดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่กำไรจะไม่ลดลง 

ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ย้ำด้วยว่า ธนาคารออมสินยังมีความท้าทายในเรื่องหนี้เสียและการกันสำรองตามคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยหนี้เสียในปัจจุบันก่อนที่จะมีมาตรการพักชำระหนี้ให้ลูกหนี้ของธนาคารฯ เมื่อ 31 มี.. 63 เพื่อช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้น ธนาคารออมสินมีลูกหนี้ที่ค้างชำระหนี้ 31-90 วัน จำนวน 330,000 บัญชีและมีหนี้ที่ปรับโครงสร้างในปัจจุบันที่กำลังจะครบอีก 400,000 บัญชีซึ่งรวมกันจะอยู่ที่ประมาณ 730,000 บัญชีถือเป็นความท้าทายของธนาคารออมสินจริงๆ ว่าจะทำอย่างไร เป็นเหตุที่นายชาติชาย พยุหนาวีชัย อดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ต้องกดปุ่มพักชำระหนี้ เนื่องจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าในเดือน เม.. 63 หนี้เสียน่าจะเพิ่มขึ้นแน่นอน โดยเรื่องดังกล่าวยังถือเป็นที่ท้าทายควบคู่กับเรื่องที่ ธปท. มีคำสั่งตั้งแต่ปลายปี 62 ให้ธนาคารฯ สำรองค่าใช้จ่ายเรื่องสินเชื่อเพิ่มขึ้นเป็น 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งธนาคารออมสินต้องหาทางออกว่าจะจัดการกับตัวเลขนี้กันอย่างไร หากผลสรุปสุดท้ายธนาคารออมสินต้องสำรองราว 50,0000 ล้านบาท ก็จะเป็นภาระของธนาคารฯ ที่ต้องสำรองในอนาคต โดยนายวิทัยย้ำว่าตนจะทำให้ดีที่สุด และเชื่อมั่นว่าธนาคารออมสินยังจะมีกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม ธนาคารออมสินยังมีหนี้ที่ค้างชำระแต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย 3 แสนบัญชี หรือคิดเป็นมูลค่าราว 70,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษและหนี้เสียเดิมอีก 4 แสนบัญชี คิดเป็นมูลค่า 65,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารฯได้ตั้งสำรองหนี้แล้ว แต่ยังต้องแก้ไขให้เป็นหนี้ปกติต่อไป 

ธนาคารออมสินจะเป็นธนาคารเพื่อสังคมนั้น จะต้องยืนอยู่บนสถานะของธนาคารเพื่อสังคมที่มีความแข็งแรงในเรื่องดิจิทัลเป็นอย่างมาก ต่อไประบบ MyMo ของธนาคารออมสินจะต้องเป็นหลักสามารถปรับให้ทำ KYC ลูกค้าได้โดยไม่ต้องมาที่สาขา รวมทั้งสามารถตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร ทำสัญญาเงินกู้ธุรกรรมทางการเงินและจ่ายเงินให้ลูกค้าผ่าน MyMo เพื่อที่จะทำให้ธนาคารออมสินเป็นทั้งธนาคารเพื่อสังคมและดิจิทัลแบงก์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่สาขาตลอดเวลา เนื่องจากโครงการของรัฐจะให้ช่วยเหลือคนเป็นล้านๆ คน ธนาคารฯ จะลดจำนวนคนที่มาสาขาเพื่อช่วยลดภาระของเจ้าหน้าที่สาขาลงด้วย อันนี้ก็จะเป็นทางที่มีความชัดเจนว่าธนาคารออมสินจะต้องเป็นดิจิทัลแบงก์ที่แก่นแท้จริงๆนอกจากนี้ เมื่อธนาคารออมสินหันมาเน้นธุรกิจเพื่อสังคมแล้ว ธุรกรรมบางอย่างอาจต้องปรับลดลงบ้าง เช่น การโฆษณา การจัดกิจกรรมกอล์ฟ กิจกรรมไปต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ยังให้ทำได้แต่เท่าที่มีความจำเป็น และพิจารณาถึงความคุ้มค่าเป็นหลักด้วย เพื่อให้ธนาคารออมสินกลับมายืนอยู่บนความเป็นตัวตนของธนาคารออมสินที่ตนเคยเห็นมาตลอดเมื่อหลาย 10 ปีที่ผ่านมา  ส่วนสาขาของธนาคารฯ ก็จะต้องได้รับการดูแล และตนจะเข้าไปดูแลสาขาเอง โดยสำนักงานใหญ่ต้องทำงานสนับสนุนช่วยเหลือสาขาเพื่อให้เดินไปด้วยกัน