ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.95 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง”


นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า

 

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  35.95 บาทต่อดอลลาร์

อ่อนค่าลง

จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  35.84 บาทต่อดอลลาร์

 

โดยนับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนพอสมควร (แกว่งตัวในกรอบ 35.81-36.08 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะทยอยแข็งค่าขึ้น ตามการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์ ก่อนที่เงินบาทจะพลิกกลับมาอ่อนค่าลงบ้าง ในช่วงวันจันทร์ที่ผ่านมาซึ่งเป็นวันหยุดของไทย หลังเงินดอลลาร์รีบาวด์ขึ้นบ้าง ตามภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินสหรัฐฯ ขณะเดียวกันบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 4.30% อีกครั้ง ซึ่งการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็กดดันให้ราคาทองคำย่อตัวลงใกล้โซนแนวรับ ทำให้โฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง 

 

สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เล่นในตลาดมั่นใจมากขึ้นว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ราว 3 ครั้งในปีนี้ สอดคล้องกับ Dot Plot ล่าสุด จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงสดใส

 

ในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานอัตราเงินเฟ้อของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ ขณะเดียวกันควรเตรียมรับมือความผันผวนจากความวุ่นวายของการเมืองสหรัฐฯ ที่อาจนำไปสู่ภาวะ Government Shutdown ได้ในช่วงปลายสัปดาห์

 

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

▪ ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE เดือนมกราคม และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรม โดย ISM (Manufacturing PMIในเดือนกุมภาพันธ์ โดยหากอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ชะลอตัวลงตามคาด ส่วนดัชนี PMI สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ดีกว่าคาด สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังสดใส ก็อาจยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดมั่นใจว่า เฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยได้ตาม Dot Plot ล่าสุด (ลดดอกเบี้ย ครั้ง และอาจเริ่มการลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน) อย่างไรก็ดี หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าคาด หรืออัตราเงินเฟ้อ PCE ชะลอลงกว่าคาด (โอกาสเกิดขึ้นต่ำ) ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมามองว่า เฟดมีโอกาสลดดอกเบี้ยได้มากกว่า Dot Plot ล่าสุดได้ นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะ บรรดาบริษัทค้าปลีก เช่น Macys, Loweและ TJ Maxx ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ และที่สำคัญ ผู้เล่นในตลาดก็จะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ทั้งนี้ ควรระวังความผันผวนในตลาดการเงินในช่วงสภาคองเกรสสหรัฐฯ ตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ซึ่งความวุ่นวายของการเมืองสหรัฐฯ อาจทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ เสี่ยงเผชิญภาวะปิดการดำเนินงาน (Government Shutdownและเสี่ยงจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Ratingได้

 

▪ ฝั่งยุโรป – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่อัตราเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซน ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอลงสู่ระดับ 2.5% (อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 2.9%) สอดคล้องกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางยุโรป (ECBอาจยังไม่รีบส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น จนกว่าจะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงเข้าสู่เป้าหมาย 2ได้สำเร็จ ซึ่ง ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB เพื่อประกอบการพิจารณาแนวโน้มนโยบายการเงินของ ECB ที่ผู้เล่นในตลาดต่างคาดว่า ECB อาจเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในการประชุมเดือนมิถุนายน และอาจลดดอกเบี้ยราว -100bps ในปีนี้

 

▪ ฝั่งเอเชีย – ในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของญี่ปุ่น และยอดค้าปลีก (Retail Salesซึ่งหากออกมาแย่กว่าคาด ก็จะยิ่งทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังไม่รีบปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้เข้มงวดมากขึ้น อย่างที่ตลาดกำลังคาดหวังอยู่ (เราคงมุมมองเดิมว่า BOJ อาจทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้) ซึ่งภาพดังกล่าวอาจกดดันให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPYผันผวนอ่อนค่าลงได้นอกจากนี้ ในส่วนนโยบายการเงิน นักวิเคราะห์ต่างคาดว่า ธนาคารนิวซีแลนด์ (RBNZอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.50เพื่อให้มั่นใจว่า RBNZ จะสามารถคุมอัตราเงินเฟ้อได้สำเร็จ ส่วนในฝั่งจีน นักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของจีน ในเดือนกุมภาพันธ์ อาจได้รับผลกระทบจากช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งจะทำให้ชั่วโมงการทำงาน โดยเฉพาะในภาคการผลิตลดลงพอสมควร ส่วนภาคการบริการ แม้ว่าอาจยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวในภาคการบริการก็อาจได้รับผลกระทบจากเทศกาลตรุษจีนเช่นกัน อาทิ ในภาคการก่อสร้างและบริการอื่นๆ 

 

▪ ฝั่งไทย – เราประเมินว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 47-48 จุด สะท้อนการฟื้นตัวของภาคการผลิตที่ดีขึ้น สอดคล้องกับการพลิกกลับมาขยายตัวของยอดการส่งออกสินค้า ทว่าโดยรวมภาคการผลิตของไทยยังคงอยู่ในภาวะหดตัว และอาจใช้เวลาสักพักกว่าที่จะกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเดือนกุมภาพันธ์ ก็อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 49 จุด เช่นกัน ตามการจ้างงานและการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นอาจมาจากผู้ประกอบการในภาคการผลิตที่จะยังคงมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย  

 

 

 

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราคงมองว่าเงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways down จากปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่าที่ทยอยแผ่วลง แต่เงินบาทก็ยังขาดปัจจัยหนุนการแข็งค่าที่ชัดเจน ทำให้การแข็งค่าจะเป็นไปอย่างจำกัด นอกจากนี้ ยังคงต้องจับตาทิศทางเงินหยวนของจีน (CNY) ราคาทองคำ รวมถึง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเงินบาทได้พอสมควรในช่วงนี้ขณะเดียวกันในช่วงปลายเดือน เงินบาทก็อาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าจากโฟลว์ธุรกรรมซื้อเงินดอลลาร์ของบรรดาผู้นำเข้า ทำให้เราประเมินว่า โซนแนวรับของเงินบาทอาจอยู่ในช่วง 35.80-35.90 บาทต่อดอลลาร์ (แนวรับถัดไปแถว 35.50-35.60 บาทต่อดอลลาร์ส่วนโซนแนวต้านยังคงอยู่ในช่วง 36.15-36.20 บาทต่อดอลลาร์

 

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า แม้เงินดอลลาร์จะแกว่งตัว sideways ตามที่เราประเมินไว้ก่อนหน้า หลังผู้เล่นในตลาดได้เชื่อว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยได้ตาม Dot Plot ล่าสุด อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากบรรยากาศในตลาดการเงินพลิกกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ซึ่งต้องรอติดตามสถานการณ์การเมืองสหรัฐฯ ในประเด็น Government Shutdown และรายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียน

 

เราคงคำแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเลือกใช้เครื่องมือในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของเงินบาท รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ที่สูงขึ้นกว่าช่วงอดีตที่ผ่านมาพอสมควร โดยผู้เล่นในตลาดอาจเลือกใช้เครื่องมือเพิ่มเติม อาทิ Options หรือ Local Currency ควบคู่ไปกับการปิดความเสี่ยงผ่านการทำสัญญา Forward 

 

มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 35.55-36.20บาท/ดอลลาร์

 

ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.80-36.05บาท/ดอลลาร์