บมจ.อัลฟาแคปปิตอล พาร์ทเนอร์ส กรุ๊ป’ เปิดโมเดลธุรกิจบริหารสินทรัพย์ครบวงจร

บมจ.อัลฟาแคปปิตอล พาร์ทเนอร์ส กรุ๊ป เปิดโมเดลธุรกิจบริหารสินทรัพย์ครบวงจร
โชว์ศักยภาพการดำเนินงานและความเชี่ยวชาญทีมผู้บริหารกว่า 20 ปี ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ริษัท อัลฟาแคปปิตอล พาร์ทเนอร์ส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACPG หนึ่งในบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีหลักประกันจากภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดโมเดลบริหารสินทรัพย์ครบวงจร ทั้งธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) และธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPA) สร้างโอกาสทางธุรกิจในแต่ละช่วงวัฎจักรเศรษฐกิจ และความยั่งยืนให้องค์กร โชว์ศักยภาพการดำเนินงานและความเชี่ยวชาญของทีมผู้บริหารในธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพกว่า 20 ปี มุ่งสู่การเป็นหนึ่งในบริษัทบริหารสินทรัพย์ชั้นนำระดับประเทศร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย

นายไมเคิล บีแคว๊ท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลฟาแคปปิตอล พาร์ทเนอร์ส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACPG เปิดเผยว่า บริษัทฯ ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) และดำเนินธุรกิจผ่านบริษัทย่อย แห่ง ได้แก่ (1) บริษัท บริหารสินทรัพย์อัลฟาแคปปิตอล จำกัด (ALPHA) และ (2) บริษัท บริหารสินทรัพย์ ไวร์เลส จำกัด (WAMC) โดยมีธุรกิจบริหารสินทรัพย์อย่างครบวงจรเป็นธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) 
ที่มีหลักประกัน โดยการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายอื่นในประเทศไทย มุ่งเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีหลักประกันที่หลากหลายทั้งประเภทของสินทรัพย์และที่ตั้ง และบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพด้วยการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้เพื่อหาข้อตกลงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกฝ่ายเท่าที่เป็นไปได้ และ ธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPA) โดยทรัพย์สินรอการขายส่วนใหญ่ของบริษัทฯ มีที่มาจากการประมูลซื้อหลักประกันสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบริษัทฯ จากการขายทอดตลาด หรือการตีทรัพย์ชำระหนี้ของลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบริษัทฯ โดยจะคำนึงถึงคุณภาพของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันและพิจารณาความต้องการของตลาด เพื่อให้จำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวได้ในมูลค่าที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทฯ เชื่อว่ารูปแบบธุรกิจของบริษัทฯ จะทำให้บริษัทฯ สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์และสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมและสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจในแต่ละช่วงของวัฏจักรเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งสร้างการเติบโตโดยใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจบริหารสินทรัพย์โดยมีจุดแข็งและข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนี้

1) กลุ่มบริษัทฯ เป็นหนึ่งในบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีหลักประกันจากภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 5,919.8 ล้านบาท และณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นเป็น 6,350.6 ล้านบาท

2) บริษัทฯ มีโอกาสในการเติบโตจากอุปทานของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา โดยจากรายงานการประเมินอุตสาหกรรม ณ เดือนสิงหาคม 2566 ที่จัดทำโดยบริษัท อิปซอสส์ จำกัด คาดการณ์ว่าภายหลังจากที่มาตราการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของธนาคารแห่งประเทศไทยสิ้นสุดลงในปี2566 จะมีปริมาณสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสให้แก่บริษัทฯ ในการเข้าลงทุนเพิ่มเติมในพอร์ตโฟลิโอสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ

3บริษัทฯ มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบส่งผลให้สามารถจัดหา บริหารจัดการ และสร้างกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของทีมผู้บริหารและบุคลากรหลักที่ผ่านการร่วมงานกับ Joint Venture ระหว่าง General Electric Capital และ Goldman Sachs ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียงระดับโลก ประกอบกับบริษัทฯ มีกลยุทธ์การปรับโครงสร้างหนี้ที่หลากหลาย สามารถปรับให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ได้ เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เหมาะสมที่สุดต่อทุกฝ่ายเท่าที่เป็นไปได้ โดยสำหรับปี 2565 บริษัทฯ มีสัดส่วนเงินที่จัดเก็บได้ต่อมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายสุทธิที่ร้อยละ 33.2 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจัดหา บริหารจัดการ และสร้างกระแสเงินสด

4) บริษัทฯ มีความสามารถในการจัดหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในราคาที่เหมาะสม สอดคล้องกับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยมุ่งเน้นการลงทุนในพอร์ตสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีหลักประกันที่ความหลากหลายทั้งประเภทของทรัพย์สินและที่ตั้ง 

และ 5บริษัทฯ มีทีมผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ ความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพทั้งในและต่างประเทศมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี และเคยผ่านประสบการณ์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น วิกฤตต้มยำกุ้ง, วิกฤตซับไพร์ม, วิกฤตโควิด-19 เป็นต้น 

โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทฯ มีเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับสุทธิเท่ากับ 3,383.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2 เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2565และ มีทรัพย์สินรอการขายสุทธิเท่ากับ 1,982.3 ล้านบาทลดลงร้อยละ 2.4 
เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2565

ในปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินงาน 728.0 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 223.4 ล้านบาท และในงวด เดือนแรกของปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินงาน 311.1 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 138.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 และ 
ร้อยละ 26.9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ เดือนแรกของปีที่ผ่านมา

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อัลฟาแคปปิตอล พาร์ทเนอร์ส กรุ๊ป กล่าวด้วยว่า หลังจากที่มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอันเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของธนาคารแห่งประเทศไทยสิ้นสุดลงในช่วงสิ้นปี 2566 คาดว่าจะมีปริมาณสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบเพิ่มขึ้น โดยพิจารณาได้จากการคาดการณ์ยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษของธนาคารพาณิชย์โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 จำนวน 
1,123,485 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีจำนวน 436,238 ล้านบาท และคาดการณยอดคงค้างสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารพาณิชย์ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 จำนวน 492,303 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2562 ซึ่งมีจำนวนเท่ากับ 465,026 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในการเติบโตของอุตสาหกรรมการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในประเทศไทยจากอุปทานของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสให้แก่บริษัทฯ ในการเข้าลงทุนเพื่อขยายพอร์ตสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นหนึ่งในบริษัทบริหารสินทรัพย์ชั้นนำระดับประเทศผ่านการให้บริการแบบครบวงจร เพื่อร่วมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ