เลขาธิการ คปภ. เผยผลงาน 8 ปี พร้อมส่งไม้ต่อ 4 ภารกิจสำคัญให้กับเลขาธิการคปภ.คนใหม่

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการทำธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยถึง “การกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยภายใต้บริบทใหม่เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน  โดยดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการทำธุรกิจประกันภัยที่กำลังจะครบวาระการดำรงตำแหน่งเลขาธิการ คปภวันที่ 31 ..2566 หลังดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาปีต่อเนื่อง  สมัย ได้กล่าวถึง

ภารกิจที่ได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไปแล้ว 8 ปี และภารกิจที่ค้างและขอฝากให้ท่านเลขาธิการ คปภ.คนใหม่ สานต่อ 4 มิติ ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมประกันภัยและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน 

ทั้งนี้อุตสาหกรรมประกันภัยต้องปรับตัวรับความผันผวนทางเศรษฐกิจ และการปรับตัวด้านเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งนับว่าท้าทายในแผนพัฒนาประกันภัยฉบับที่ต้องปรับและพร้อมไปต่อ โดยเฉพาะ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้าน Insurtech นวัตกรรมประกันภัยแห่งอนาคต สู่ Digital Insurance ซึ่งที่ผ่านมาได้ตั้ง Center of Insurance Thailand (CIT) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมด้านInsurance ให้ประชาชนเข้าถึงระบบประกันภัยได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็น Application แพลตฟอร์ม“Me Claim” และ OTC Gateway รวมถึง Chatbot “คปภ.รอบรู้” ดร.สุทธิพล กล่าว

สำหรับแผนงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วมีดังนี้

ด้านที่ 1 แก้ไขปัญหาบริหารที่ค้างอยู่ กฏหมาย และปรับปรุงโครงสร้างให้สามารถดำเนินการได้คล่องตัวได้จัดโครงสร้างการทำงาน มีการลดตำแหน่ง ระดับผู้อำนวยการ เน้นสร้างคน ยกระดับงานด้านเทคโนโลยี 



ด้านที่ 2 การกำกับและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย 

(1) Insurance Business System (IBS) 

(2) RBC Stress Test (FSAP)

(3) Regulatory Guillotine

(4) IT Audit

(5) การจัดการด้านความเสี่ยง



ด้านที่ 3 ส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัย ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ให้สอดรับสภาพแวดล้อมใหม่

1.Center of insuretech , Thailand CIT สร้าง eco system insurance ให้ประชาชนเข้าถึงระบบประกันภัย มีศูนย์เคลมกลางในการเชื่อมต่อ OIC gateway และApplication “Me Claim “ 

2.พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล การตรวจสอบการชำระประกันภัย พรบ.

ด้านที่ 4 การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้เข้าถึงทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นรายย่อยและชุมชน โครงการ คปภชุมชน จะสำรวจความเสี่ยงก่อนลงพื้นที่  เน้นช่วยถ่ายทอดของดีๆของท้องถิ่น การเชื่อม 1 ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ กับความเสี่ยงของพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดอุทัยธานี  การประกันภัยอ้อยโรงงานน้ำตาลซื้ออ้อยจากชาวไร่ แล้วเอากากน้ำตาลมาทำปุ๋ย แล้วให้ชาวไร่อ้อยมาซื้อปุ๋ยแล้วแถมประกันเป็นต้น



นอกจากนี้ยังมีโครงการประกันภัยทุเรียนภูเขาไฟ ศรีษะเกษ มีจุดเด่น จด GI เป็นทรัพย์สินทางปัญญา และ.นครพนม มีการศึกษาว่าประชาชนชาวอีสานชอบรับประทานอาหารดิบ ก็นำเสนอ ประกันภัยท่อน้ำดีสำหรับภาคใต้ ก็เน้นย้ำประกันภัยยางพารา


ด้านกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย Micro insurance เน้นราคาถูก ประชาชนเข้าถึงพร้อมดึงผู้ประกอบการห้างร้าน  นับว่าเป็นการขยายฐานโดยการสร้างการรับรู้และกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุเพื่อคนพิการสำหรับรายย่อย

ด้านที่ 5 ยกระดับการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยี รองรับทุกการเข้าถึงของอุปกรณ์

มีการปรับe-Arbitration, ต่อยอดช่องทาง กูรูประกันภัย, OIC gateway 5G และ Insurance Regulator Sandbox

ด้านที่ 6 ระบบการประกันภัยภาคการเกษตร

1.การประกันภัยข้าวนาปี และข้าวโพดสัตว์เลี้ยง

2.การร่วมมือทางวิชาการร่วมกันกับสนง.เศรษฐกิจ

3.เน้นความร่วมมือการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำรวจพัฒนาระบบประกันภัยเพื่อการเกษตร

สิ่งที่เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้วและจะต้องทำต่อ โดยขอฝากให้กับท่านเลขาธิการคนใหม่ ขับเคลื่อนต่อผ่าน 4 มิติ

  1. มิติการปรับปรุงหลักเกณฑ์กำกับดูแลที่มีความยืดหยุ่น ผลักดันกฏหมายแม่บท ขับเคลื่อนร่างพรบ.ประกันภัยทางทะเล 
  2. มิติการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ภาคธุรกิจประกันภัยมุ่งสู่ Digital Insurance อย่างเต็มรูปแบบ 
  3. มิติการขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยมุ่งสู่sustainable insurance ส่งเสริม ESG (Environment Social Governance ) สิ่งแวดล้อม สังคม ธรมมาภิบาล เชื่อมโยงข้อมูลด้านประกันภัยในอาเซียน
  4. มิติ ยกระดับการกำกับดูแลและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย ยกระดับสนง.สู่สมาร์ทOIC , Insuretech Hub ศูนย์ CIT ในกลุ่ม CLMV ปรับหลักสูตร วปสวิทยาการประกันภัยระดับสูง ให้เป็นศูนย์กลางวิชาการของอาเซียน ให้อุตสาหกรรมประกันเป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นของประชาชนเพิ่มมากขึ้น 
โดยการแถลงข่าวดังกล่าวจัดขึ้น วันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ณ. ห้องประชุม โรงแรมไมด้า รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี