DMT ร่วมกับ SET ปลูกป่าในวันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลก


 


ในสภาวะมลพิษในอากาศและภาวะโลกร้อนที่กำลังย่ำแย่จวนจะถึงขีดสุด ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัยของเราในระยะยาว และปัญหาพวกนี้ทำให้พื้นที่ป่าแห้งแล้งหนักขึ้น กระทบไปถึงชาวบ้านโดยรอบพื้นที่ป่า ขาดแคลนแหล่งน้ำใช้ช่วงหน้าแล้ง ในการทำการเกษตร ผลผลิตออกสู่ตลาดได้น้อย ราคาสูงลิ่วเป็นปัญหาค่าครองชีพให้คนในสังคมต่อเนื่องไปอีก

ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย กรรมการผู้จัดการบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชนหรือ DMT  เปิดใจให้เราฟังว่า ในโอกาสที่ปีนี้ DMT ก้าวเข้าสู่ปีที่ 35 บริษัทมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงประเด็นพื้นฐานใน 3 มิติที่สำคัญ ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม(Environmental) มิติสังคม (Social) และมิติกำกับดูแลกิจการ (Governance) ซึ่งกิจกรรมปลูกป่าชุมชนครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าและส่งมอบคุณค่าให้กับชุมชน ซึ่ง DMT เป็นอีกหนึ่งพลังในการขับเคลื่อนให้ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยในโอกาสนี้อยากใช้วันที่ 17 มิถุนายน ที่สหประชาชาติกำหนดเป็นวันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลก “World Day to Combat Desertification and Drought” รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกโดยมุ่งเน้นบริเวณพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเป็นพื้นที่เป้าหมายที่จะช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก เพิ่มปริมาณออกซิเจนและลดภาวะโลกร้อนได้ดีที่สุด

คณะผู้บริหาร DMT นำโดย ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย กรรมการผู้จัดการ คุณบงกชรัตน์ ตั้งชูกุล รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจและการเงิน คุณอัจฉรา เจริญพร ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงานพัฒนาความยั่งยืนองค์กร พร้อมทีมพนักงานบริษัท และนิสิตนักศึกษาจากมูลนิธิทางสู่ฝันปั้นคนเก่ง ซึ่งบริษัทสนับสนุนทุนการศึกษาอยู่ ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมป่าไม้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกและชุมชนบ้านหนองปลิง .กาญจนบุรี ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมปลูกป่าเพื่อสร้างสรรค์และฟื้นฟูธรรมชาติ ภายใต้กิจกรรมปลูกต้นไม้ให้ได้ผืนป่า

โดยได้นัดหมายตัวแทนจากทุกหน่วยงานที่กล่าวมาข้างต้น  ป่าชุมชนบ้านหนองปลิง.ทุ่งกระบ่ำ .เลาขวัญ .กาญจนบุรี และเริ่มเดินทางเข้าพื้นที่แปลงปลูกด้วยรถบัสขบวนรถเคลื่อนผ่านทางลูกรังที่เป็นหลุมเป็นบ่อ และป่าโปร่ง ท่ามกลางความร้อนระอุกว่าจะถึงจุดหมายปลายทางก็ท้องไส้สั่นคลอนกันไม่น้อย ทุกคนไม่รอช้า ต่างกุลีกุจอจับจอบ จับเสียม ขุดดิน นำกล้าไม้ลงปลูกและช่วยกันรดน้ำพรวนดิน ไม่หวั่นแดดเปรี้ยง ใช้เวลาปลูกป่ากันราวหนึ่งชมพื้นที่โล่งๆ ก็เต็มไปด้วยต้นกล้า 200 ต้น เรียงแถวเป็นระเบียบ

ชาวบ้านในชุมชน บ้านหนองปลิง เล่าข้อมูลให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฟังว่า บริเวณที่ทุกคนมา ร่วมกันปลูกป่านี้ จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ให้พื้นที่รอบเขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวชุมชนบ้านหนองปลิงดูแลตั้งแต่ปี 2553 และสร้างป่าใหม่สะสมในพื้นที่กว่า 17,000 ไร่ พันธุ์ไม้ที่ปลูกประกอบด้วย ประดู่ สะเดา มะขาม มะขามป้อม

หลังจากที่เต็มอิ่มทั้งความรู้และอิ่มใจในผลงานที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำจนเหงื่อไหลไคลย้อยกันแล้ว ต่างก็ไปล้างเนื้อล้างตัวขึ้นรถเดินทางกลับกรุงเทพด้วยความเหนื่อยอ่อนแต่ทุกคนบอกว่ามีความสุข และจะแวะเวียนมาดูการเติบโตของต้นไม้ของพวกเราบ่อยๆ

มาค่ะ เรามาจับเข่าคุยกับน้องนักศึกษาจอมลุย .กลางใจ เทียมวิสัย หนึ่งในนศ.คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต .มหิดล ซึ่งเป็นตัวแทนจากมูลนิธิทางสู่ฝันปั้นคนเก่ง เล่าถึงบรรยากาศและสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าในวันนี้ว่า เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้ทั้งความรู้ควบคู่ไปกับประสบการณ์  การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความสามัคคีในหมู่คณะ และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการปลูกป่าเนื่องในวันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลกและได้ความรู้ว่า ต้นไม้ 1 ต้น สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 9-15 กิโลกรัมต่อปี ช่วยผลิตออกซิเจนได้เพียงพอสำหรับ 2 คน พอมีความรู้เรื่องนี้แล้ว จึงมีความตั้งใจว่าถ้ามีโอกาสก็อยากจะปลูกป่าทดแทนในพื้นที่อื่นๆ เพิ่มขึ้น

ด้านคุณอัจฉรา เจริญพร ผอ.ฝ่ายอาวุโส สายงานพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ของ DMT เล่าเสริมว่า

โครงการ แคร์ เดอะ ไวลด์ (Care The Wild) ปลูกป้อง Plant & Protect ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม เน้นการปลูกต้นไม้ใหม่ ปลูกต้นไม้เสริมและส่งเสริมการดูแลต้นไม้ โดยผ่านภาคีองค์กรเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยต้นไม้ที่ปลูกต้องรอดและเติบโต 100% ซึ่ง DMT กับชาวบ้านชุมชนบ้านหนองปลิงจะร่วมกันติดตามประเมินผลการปลูกป่าเป็นเวลา 10 ปีและจะมีการติดตามผลทุกๆ 6 เดือนผ่านแอปพลิเคชัน แคร์ เดอะ ไวลด์ (Application Care The Wild) ซึ่งพวกเราตั้งเป้าหมายว่าเมื่อดำเนินการปลูกป่าต่อเนื่องในระยะเวลา 5 ปี จะได้พื้นที่ป่าจำนวน 50 ไร่ รวมต้นไม้ 10,000 ต้น ซึ่งสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 90 ตันคาร์บอนไดออกไซต์ (TonCO2e) ต่อปี และสร้างประโยชน์ให้ชุมชนรอบข้างพื้นป่า ประกอบกับช่วยลดปัญหาความแห้งแล้งและฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม

ทั้งนี้ คุณอัจฉราได้เป็นตัวแทนจาก DMT ขอบคุณชาวบ้านชุมชนบ้านหนองปลิง .ทุ่งกระบ่ำ .เลาขวัญ .กาญจนบุรี ซึ่งเป็นภาคีสำคัญในการดูแลป่าหลังการปลูก ที่สำคัญกิจกรรมปลูกป่าชุมชนในครั้งนี้ โดยภาคีของพวกเราได้ดำเนินการตามกรอบเป้าหมายแห่งสหประชาติ UNSDG Goal ในข้อ 13 Climate Action ข้อ 15 Life on Land และขับเคลื่อนการทำงานด้วยข้อ 17 Partnership for the Goal ลุล่วงเป็นอย่างดี ปลาบปลื้มกันถ้วนหน้า และพร้อมจะลุยปลูกป่าอย่างไม่ย่อท้อในพื้นที่อื่นๆ ของผืนดินไทยต่อไป