“SAMART” ดัน “SAV” เข้า IPO ภายใน Q3 ปีนี้ ลุยสัมปทานการบินกัมพูชา

“SAMART” ดัน “SAV” เข้า IPO ภายใน Q3 ปีนี้ ธุรกิจสัมปทานการบินหนึ่งเดียวในกัมพูชา ไปจนถึงปี 2594 อนาคตหุ้นศักยภาพดี ไร้หนี้เสีย ไร้คู่แข่ง

นายธีระชัย พงศ์พนางาม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAV เปิดเผยว่า  “SAV" บมจ. สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ เป็นบริษัทย่อยในกลุ่มสามารถ ที่ได้เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปีนี้ เป็นธุรกิจทำหน้าที่ถือหุ้น 100% ในบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) เป็นบริษัทให้บริการด้านวิทยุการบินอย่างครบวงจร ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจใหม่เพราะว่าเป็นธุรกิจที่คุ้นเคยอยู่แล้ว มีทุนจดทะเบียน 320,000,000 บาท ชำระแล้ว 288,000,000 บาท ยื่นไฟล์ลิ่ง IPO วันที่ 11 เมษายน 2566 รอการพิจารณา คาดเข้า SET ภายในปีนี้

รายได้หลักของ CATS มาจากบริการควบคุมการจราจรทางอากาศ 3 ประเภท ได้แก่

 1. รายได้จากค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงในประเทศ (Landing &Take-off : Domestic) 

 2. เที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงระหว่างประเทศ (Landing & Take-off: International) 

 3. รายได้จากค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชา (Overflight) 

โดยหลักๆคือมากจากค่าบริการบินผ่านน่านฟ้า และ เที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงระหว่างประเทศ รองลงมา

ทั้งนี้ประเทศจีนได้มีการเข้ามาลงทุนสร้างสนามบินใหม่ที่ประเทศกัมพูชา ในชื่อสนามบินแห่งชาติดาราสาคร คาดว่าจะเปิดให้บริการ Q4 ปีนี้ ส่งผลให้การบริหารจัดการจราจรทางอากาศ ที่ครอบคลุมเส้นทางบินทั้งหมดของน่านฟ้าประเทศกัมพูชา โดยปัจจุบันกัมพูชามีสนามบินนานาชาติ 3 แห่ง ได้แก่ สนามบินนานาชาติพนมเปญ ,สนามบินนานาชาติเสียมเรียบ และ สนามบินนานาชาติสีหนุ สนามบินในประเทศ 3 แห่ง สนามบินพระตะบอง สนามบินเกาะกง และสนามบินสตึงเตรง 

ปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมการบินเนื่องจาก การดำเนินงานในอุตสาหกรรมนี้เติบโต และแข็งแกร่ง นอกจากนี้เลือกลงทุนในประเทศกัมพูชาจากการเทียบ GDP ของประเทศที่อยุ่ในจุดที่สูงที่สุดใน ASEAN 

กลุ่มลูกค้าหลากหลายมีกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินผ่านน่านฟ้ามาจากประเทศเวียดนาม (44.3%), ฟิลลิปปินส์ (16.6%), ประเทศไทย (14.8%) รองลงมานั่นเอง

แหล่งรายได้ชัดเจน ที่คำนวนจากการจราจรทางอากาศเติบโตเชิงประมาณอย่างต่อเนื่อง กับอัตราค่าบริการกำหนดโดย SSCA (ค่าปรับ) ที่แปรผันไปตามจำนวนไฟลท์ออกมาเป็นรายได้นั่นเอง มาถึงต้นทุนที่ส่วนใหญ่มาจากส่วนแบ่งที่ต้องแจกจ่ายให้รัฐบาลเนื่องจากเป็นการสัมปทานอีกด้วยและโอกาสการเกิดหนี้เสียน้อยเนื่องจากเงื่อนไขการให้บริการคือต้องจ่ายล่วงหน้าก่อนการเดินทางนั่นเองถือว่าเป็นธุรกิจไม่มีหนี้เสียนั่นเอง

ด้วยโครงการสัมปทานนี้เองส่งผลให้กลายมาเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาระยะเวลารวม 49 ปี (2545-2594) หรือได้สิทธิ์บริหารยาวไป 28 ปีนั่นเอง

การเติบโตของธุรกิจ “ในปี 2565 SAV มีรายได้รวม เท่ากับ 1,220 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรายได้รวม 724 ล้านบาทในปีก่อนหน้าและ มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 199.5  ล้านบาท ทั้งนี้หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสถานการณ์โควิด-19 มีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั้งในประเทศกัมพูชาและประเทศในภูมิภาคอาเซียนกลับมาเติบโต SAV มีผลการดำเนินงานที่กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

.#IPO #SAV #ธุรกิจการบินในกัมพูชา #สัมปทาน