“สตรีทฟู้ดแฟรนไชส์” ยุทธจักรใหม่ของเชนร้านอาหารใหญ่ในไทยที่ต้องจับตา!

“สตรีทฟู้ดแฟรนไชส์” ยุทธจักรใหม่ของเชนร้านอาหารใหญ่ในไทยที่ต้องจับตา!

    “สตรีทฟู้ด” เป็นหนึ่งวัฒนธรรมการกินพื้นฐานของคนไทย โดยมีรูปแบบที่หลากหลายและอยู่ทั่วทุกมุมถนน ตั้งแต่ตึกแถวไปจนถึงรถเข็น  ธุรกิจ สตรีทฟู้ดในไทย ปี 2565 มีการคาดการณ์กันว่า สตรีทฟู้ด ที่มีหน้าร้านจะมีมูลค่าที่ 1.84-1.86 ล้านบาท  เติบโตโดยเฉลี่ย 5-6% ต่อปี มีมูลค่าสูงกว่าตลาดเชนร้านอาหาร

      ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นต่อเนื่องของธุรกิจ สตรีทฟู้ด ทำให้ธุรกิจเชนร้านอาหารใหญ่ในไทยต่างหันมาลงสนามปั้นแบรนด์สตรีทฟู้ด “ร้านอาหารตามสั่ง” พร้อมทั้งขายแฟรนไชส์เพื่อขยายสาขาให้ทั่วประเทศ

    CRG เชนร้านอาหารภายใต้ เซ็นทรัล กรุ๊ป

    กลุ่ม ZEN Corporation Group

    เชสเตอร์” (Chester’s) ธุรกิจร้านอาหารในเครือ CPF

    จากสถานการณ์ COVID-19 ช่วงที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจร้านอาหารและฟู้ดเชนใหญ่ ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ธุรกิจร้านอาหารหลายแห่งต้องปรับตัวและไม่ยึดติดกับโมเดลเดิม ๆ ต้องมองหา “โมเดลธุรกิจใหม่” เพื่อสร้างรายได้หลากหลายช่องทาง

    หนึ่งในวิธีการทำโมเดลธุรกิจแบบ “Asset Light” คือ “แฟรนไชส์” โดยฟู้ดเชนจะเลือกแบรนด์ที่มีศักยภาพ เข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ มาขาย “แฟรนไชส์” ให้ผู้ที่สนใจอยากมีธุรกิจร้านอาหารมาเป็นผู้ลงทุนซื้อแฟรนไชส์

    การลงทุนสร้างแบรนด์ร้านสตรีทฟู้ด แล้วนำไปต่อยอดขายแฟรนไชส์ เพื่อลดการลงทุนเอง และเพิ่มโอกาสขยายสาขาผ่านคู่ค้าหรือพันธมิตรที่สนใจ

CRG ปั้นแบรนด์ “อร่อยดี” ตั้งเป้า 300 สาขาภายใน 5 ปี

    เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป” (Central Restaurants Group) หรือ “ซีอาร์จี (CRG) ปั้นแบรนด์ “อร่อยดี” โดยเริ่มต้นในปี 2561 เริ่มแรกลงทุนสาขาเอง เพื่อศึกษาและทำการตลาด ต่อมาในปี 2563 ได้เปิดขายแฟรนไชส์ พร้อมตั้งเป้าหมายภายใน 5 ปีจะมี 300 สาขา อร่อยดี จะเน้นอาหารไทย+สไตล์ฟิวชั่นเป็นหลักมากกว่า โดยโพซิชั่นนิ่ง เป็นร้านอาหารสไตล์สตรีทฟู้ด ภายใต้สโลแกน “รสชาติคุ้น อิ่มครบ จบทุกมื้อ เน้นจุดขายในเรื่องของความสะอาด และความอร่อย โดยมุ่งเป้าหมายไปที่คนรุ่นใหม่หรือเจาะกลุ่มคนทำงานเป็นหลักมากกว่า แตกต่างกันคู่แข่งอย่างชัดเจน

    กลยุทธ์การวางราคา จะมีทั้งแบบจานเดียว ราคาเริ่มต้นที่ 59 บาท หรือกระทั่งเมนูเป็นเซ็ตที่มาพร้อม อาหาร + เครื่องดื่ม + 150 บาทขึ้นไป

นอกจากเปิดขายแฟรนไชส์แบรนด์ “อร่อยดี” แล้ว ในอนาคต CRG มีแผนจะเปิดขายแฟรนไชน์แบรนด์อื่นด้วยเช่นกัน


ZEN” ดัน “เขียง” เป็นแบรนด์ ดึงเมนูเด็ดสตรีทฟู้ด “โต้รุ่ง” ร้านดัง พร้อมให้บริการ Delivery

    “เขียง”​ ถือเป็นแบรนด์ดาวรุ่งของกลุ่ม ZEN Corporation ที่ปั้นขึ้นเอง  เขียงถือเป็นสตรีทฟู้ดแฟรนไชส์ที่เปิดตัวในปี 2562

จากปี 2564 ที่ผ่านมา “เขียง” มีสาขาให้บริการมากที่สุดในเชนสตรีทฟู้ดของประเทศไทย รวมกว่า 200 สาขา เน้นกระจายทุกพื้นที่ ทั้งศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ อาคารสำนักงาน สถานีน้ำมัน และ Delivery และการขยายในรูปแบบรถเข็น


    เขียง ชูจุดเด่นด้านรสชาติที่มีเอกลักษณ์จัดจ้าน โดยเมนูเขียงส่วนใหญ่เป็นอาหารจานเดียวเริ่มต้นที่ 50 บาท แตกต่างจากคู่แข่งที่มีเมนูอาหารสำหรับทานกับข้าว

    นอกจากแบรนด์เขียงแล้วล่าสุด ZEN ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “โต้รุ่ง” เป็นร้านอาหารที่มีเฉพาะครัวไม่ต้องมีหน้าร้าน โดยใช้ครัวของร้านเขียงในการทำอาหาร เรียกโมเดลธุรกิจนี้ว่า “Ghost Kitchen” เพื่อให้บริการรูปแบบ Delivery เป็นเมนูจากร้านอาหารพื้นบ้านในต่างจังหวัด โดยเปิดตัว 6 เมนูคือ ข้าวผัดโบราณ ปากหม้อนครพนม ยำปลาร้าหอมสารคาม ไก่ทอดหาดใหญ่ ต้มเลือดหมูปทุมธานี และโจ๊กปทุมธานี ราคาเริ่มต้นที่ 30 บาท

    ดังนั้นการมีแบรนด์เชนร้านอาหาร ในราคาย่อมเยา และขยายสาขาได้เร็ว ในโลเคชั่นต่างๆ จึงเพิ่มโอกาสการขายได้มากขึ้น


เชสเตอร์เปิดตัว “ตะหลิว” ความได้เปรียบของธุรกิจ “ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ”

    “ตะหลิว” แบรนด์สตรีทฟู้ดในกลุ่ม “เชสเตอร์” (Chester’s) ธุรกิจร้านอาหารในเครือของ CPF ความได้เปรียบของแบรนด์ “ตะหลิว” อยู่ตรงที่ “วัตถุดิบ” เนื่องเจ้าของแบรนด์เป็นธุรกิจในกลุ่ม CPF ซึ่งทำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ การเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตเป็นอาหาร กลางน้ำ จำหน่ายเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ และปลายน้ำ คือ การมีร้านอาหารต่างๆ และผลิตอาหารแปรรูปจำหน่าย

     ตะหลิวชูจุดเด่นเป็นอาหารไทยตามสั่ง โดยมีเมนูเด็ดตั้งแต่มาม่าหม้อไฟ ไข่ตุ๋นซีฟู้ดต้มยำ และเมนูอาหารจานเดียวอย่างข้าวผัดกะเพรา เมนูเส้นมาม่า ราคาเริ่มต้นที่ 50 บาท ด้วยศักยภาพของซีพี  “ตะหลิว” สามารถขยายไปถึงร้านรถเข็น และร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่น-อีเลฟเว่นได้เลย จะยิ่งทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ยิ่งขึ้น

    ไม่แน่ว่าอนาคตเราอาจเห็นเชนสตรีทฟู้ดขยายร้านทั่วทุกหนแห่ง ทุกตรอกซอกซอย ตามแหล่งชุมชน ที่อยู่อาศัย ย่านอาคารสำนักงาน ย่านการค้าเล็ก-ใหญ่ต่างๆ เหมือนเช่นร้านสะดวกซื้อก็เป็นไปได้